Page 388 -
P. 388

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                   เขต 5 ภาคกลาง (รวมภาคตะวันออกและตะวันตก)
                       มีพื้นที่ปลูกข้าว: ประมาณ 6.5 ล้านไร่

                       กลุ่มชุดดินที่ส�าคัญ: กลุ่มชุดดินที่ 3, 4, 6, 10 และ 11
                   เขต 6 ภาคใต้

                       มีพื้นที่ปลูกข้าว: ประมาณ 2 ล้านไร่
                       กลุ่มชุดดินที่ส�าคัญ: กลุ่มชุดดินที่ 3, 4, 15, 16, 17 และ 22
                                                                                             4


                    ความอุดมสมบูรณ์ของดินในกลุ่มชุดดิน


                                                         ซึ่งพบในพื้นที่ราบต�่า







             ก่อนที่จะศึกษาข้อมูลความอุดมสมบูรณ์ของดินในกลุ่มชุดดินซึ่งพบในพื้นที่ราบต�่า  จ�านวน  27
          กลุ่มชุดดิน ซึ่งปรากฏในตารางที่ 14.3-14.29 ขอท�าความเข้าใจข้อเท็จจริง 2 ประการดังนี้
                   1) ข้อมูลที่ปรากฏในตารางเป็นสมบัติด้านความอุดมสมบูรณ์ของดิน ณ วันเก็บตัวอย่างดิน

                   2) ความอุดมสมบูรณ์ของดินเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับการจัดการดิน เช่น การใส่ปุ๋ย การใส่ปูน
          ชนิดพืชที่ปลูกและมาตรการอนุรักษ์ดินและน�้า

                   หากดินในพื้นที่นาของชาวนารายหนึ่งเป็นชุดดินบางเลน แสดงว่าดินเป็นดินเหนียวจัดสีด�าหรือ
          สีเทาเข้ม ความจุในการแลกเลี่ยนแคตไอออน (CEC) สูง แต่ปริมาณอินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์
          และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้  อาจแตกต่างจากข้อมูลในตารางที่  14.3  เนื่องจากเหตุผลสองประการ

          ข้างต้น ขอให้ถือว่าข้อมูลความอุดมสมบูรณ์ของชุดดินหรือกลุ่มชุดดินที่ปรากฏในตารางต่อไปนี้เป็นข้อมูล
          ทางอ้อม การน�าข้อมูลไปประกอบค�าแนะน�าในการใช้ปุ๋ย จึงควรขอค�าแนะน�าเพิ่มเติมจากนักวิชาการ
                   จากรายงานการจัดการทรัพยากรดิน  เพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก  ตามกลุ่มชุดดินของกรม

          พัฒนาที่ดิน (2548) ความอุดมสมบูรณ์ของดินในกลุ่มชุดดินที่พบในพื้นที่ต�่า มีดังนี้
                   กลุ่มชุดดินที่ 1
                   1) ลักษณะของดิน

                     ดินในกลุ่มชุดดินที่ 1 เป็นดินเหนียวจัดสีด�าหรือสีเทาเข้ม มักพบจุดประสีน�้าตาลและสีเหลือง
          ปนน�้าตาลในดินชั้นบน  ส่วนดินชั้นล่างสีเทาเข้ม  และมักพบก้อนปูนปะปนอยู่ในเนื้อดิน  ปฏิกิริยาดินเป็น

          กรดเล็กน้อยถึงด่างปานกลาง  (pH  6.5-8.0)  ในฤดูแล้งจะแตกระแหงกว้างและลึก  เนื่องจากมีการยืด
          และหดตัวสูงเมื่อดินเปียกและแห้ง  ความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูง  เช่น  ชุดดินโคกกระเทียม  ช่องแค
          ท่าเรือ บางเลน บ้านโภชน์ บ้านหมี่ บุรีรัมย์ ลพบุรี และวัฒนา



          384                                                        ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว
          384 ความอุดมสมบูรณ์ของดินนา
   383   384   385   386   387   388   389   390   391   392   393