Page 390 -
P. 390
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ตารางที่ 14.4 ผลการวิเคราะห์ดิน และระดับความอุดมสมบูรณ์ของแต่ละชุดดิน ในกลุ่มชุดดินที่ 2
CEC BS OM Avai.P Exch.K ระดับความ
ชุดดิน pH cmol /kg (%) (%) (mg/kg) (mg/kg) อุดมสมบูรณ์
c
ชุมแสง - 27.40 48.00 2.10 16.57 113.00 ปานกลาง
ท่าขวาง - 18.50 45.00 0.62 15.00 109.00 ปานกลาง
บางเขน 4.64 29.27 78.35 0.82 2.91 61.80 ปานกลาง
บางน�้าเปรี้ยว 4.40 30.35 55.73 2.61 5.40 223.10 ปานกลาง
บางปะอิน 4.96 21.11 53.00 1.10 12.20 143.00 ปานกลาง
มหาโพธิ์ 4.52 22.10 26.68 2.18 5.98 109.20 ปานกลาง
ศรีสงคราม - 14.50 28.57 2.70 1.08 77.50 ปานกลาง
อยุธยา 4.73 22.50 65.68 1.76 9.68 94.00 ปานกลาง
ค่ามัธยฐาน 4.64 22.30 50.50 1.93 8.51 109.00 ปานกลาง
ที่มา : กรมพัฒนาที่ดิน (2548)
กลุ่มชุดดินที่ 3
1) ลักษณะของดิน
ดินในกลุ่มชุดดินที่ 3 มีเนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินบนมีสีด�าหรือสีเทาเข้มมาก ส่วนดินชั้นล่าง
สีด�าหรือสีน�้าตาลอ่อน พบจุดประสีเหลืองและสีน�้าตาลหรือสีแดงตลอดหน้าตัดดิน การระบายน�้าเลว
บางพื้นที่จะพบเปลือกหอยอยู่ในดินชั้นล่าง ถ้าพบดินกลุ่มนี้บริเวณชายฝั่งทะเล ปฏิกิริยาดินเป็นกรด
เล็กน้อยถึงด่างเล็กน้อย (pH 6.5-7.5) บางพื้นที่จะเป็นด่างเล็กน้อยถึงด่างปานกลาง (pH 7.5-8.0)
ความอุดมสมบูรณ์อยู่ในระดับปานกลางถึงสูง เช่น ชุดดินฉะเชิงเทรา บางกอก บางแพ พิมาย สมุทรปราการ
และสิงห์บุรี
2) ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
จากการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของชุดดินต่างๆ ในกลุ่มชุดดินที่ 3 พบว่าเป็นกลุ่มชุดดิน
ที่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูงจาก 4 ใน 6 ชุดดินที่มีค่าวิเคราะห์ มีระดับของไนโตรเจน และ
ฟอสฟอรัสในดินอยู่ในเกณฑ์ต�่า ซึ่งไม่พอเพียงต่อความต้องการของพืชที่ปลูก ดังตารางที่ 14.5
กลุ่มชุดดินที่ 4
1) ลักษณะของดิน
ดินในกลุ่มชุดดินที่ 4 ลักษณะเนื้อดินบนส่วนใหญ่เป็นดินร่วนเหนียว ดินร่วนเหนียวปน
ทรายแป้งและดินเหนียวสีเทาเข้มหรือสีน�้าตาลเข้มปนเทา ส่วนดินชั้นล่างเป็นดินเหนียว หรือดินเหนียว
386 ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว
386 ความอุดมสมบูรณ์ของดินนา