Page 394 -
P. 394

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                   2) ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                     ชุดดินนครปฐม  ผักกาด  พิจิตรและอุตรดิตถ์  มีความสมบูรณ์อยู่ในระดับปานกลาง  ส่วน

          ชุดดินท่าตูม และเดิมบางมีความอุดสมบูรณ์ต�่า ดังตารางที่ 14.9


          ตารางที่ 14.9  ผลการวิเคราะห์ดิน และระดับความอุดมสมบูรณ์ของแต่ละชุดดิน ในกลุ่มชุดดินที่ 7


              ชุดดิน       pH       CEC        BS          OM       Avai.P  Exch.K  ระดับความ
                                  cmol /kg    (%)       (%)     (mg/kg) (mg/kg) อุดมสมบูรณ์
                                       c
           เดิมบาง        5.78       7.20     66.13     0.77      3.60     74.10        ต�่า

           ท่าตูม           -                4.60  32.00  1.00           3.00  10.00    ต�่า

           นครปฐม         7.53      19.00     77.51     1.61     10.00     89.37     ปานกลาง
           ผักกาด           -       16.30     42.00     3.69      2.60     88.00     ปานกลาง

           พิจิตร           -       13.40     46.00     1.43     15.80     99.00     ปานกลาง

           อุตรดิตถ์            -   14.50     37.00     2.43     24.50     50.00     ปานกลาง
           ค่ามัธยฐาน     6.65      13.95     44.00     1.52      6.80     81.05     ปานกลาง

           ที่มา : กรมพัฒนาที่ดิน (2548)



               กลุ่มชุดดินที่ 8
                   1) ลักษณะของดิน

                     ดินในกลุ่มชุดดินที่  8  เนื้อดินเป็นดินเหนียวตลอดหน้าตัดดิน  ดินบนมีลักษณะการทับถม
          เป็นชั้นๆ  ของดิน  และอินทรียวัตถุที่ได้จากการขุดลอกร่องน�้า  ดินล่างมีสีเทา  บางแห่งพบเปลือกหอย
          ปะปนอยู่ด้วย  นอกจากนี้ยังพบจุดประสีน�้าตาลเข้มและสีน�้าตาลปนเหลืองอยู่ในดินชั้นล่าง  ที่ประมาณ

          ความลึก 1 เมตรลงไปจะพบโคลนก้นทะเลสีเทาปนน�้าเงิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงด่างปานกลาง
          (pH  6.5-8.0)  ส่วนดินชั้นล่างมีปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงด่างจัด  (pH  7.0-8.5)  มีความอุดมสมบูรณ์

          ปานกลางถึงสูง  ลักษณะเด่นของกลุ่มดินที่  8  ก็คือเป็นกลุ่มดินที่เกษตรกรได้เปลี่ยนสภาพพื้นที่จาก
          ราบเรียบท�าเป็นร่องสวนหรือขนัดสวนปลูกไม้ผลอย่างถาวร จึงท�าให้ลักษณะของดินและการใช้ประโยชน์
          เปลี่ยนแปลงไปจากของเดิม เช่น ชุดดินด�าเนินสะดวก ธนบุรี และสมุทรสงคราม

                   2) ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                     จากการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของชุดดิน  ธนบุรี  สมุทรสงคราม  และด�าเนินสะดวก

          พบว่าชุดดินธนบุรีมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง  ส่วนชุดดินสมุทรสงครามและด�าเนินสะดวกมีความ
          อุดมสมบูรณ์สูง ดังตารางที่ 14.10



          390
          390 ความอุดมสมบูรณ์ของดินนา                                ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว
   389   390   391   392   393   394   395   396   397   398   399