Page 396 -
P. 396
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กลุ่มชุดดินที่ 10
1) ลักษณะของดิน
ดินในกลุ่มชุดดินที่ 10 มีเนื้อดินเป็นดินเหนียวตลอดหน้าตัดดิน ดินบนสีด�าหรือเทาเข้มมาก
ดินชั้นล่างสีเทา มีจุดประสีน�้าตาลปนเหลือง สีแดงและพบจุดประสีฟางข้าวของสารจาโรไซต์ (jarosite)
ภายในความลึก 100 ซม. จากผิวดินบน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดรุนแรงมากถึงกรดรุนแรงมากที่สุด (pH<4.5)
เช่น ชุดดินเชียรใหญ่ มูโน๊ะ รังสิตกรดจัด และองครักษ์
2) ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ผลการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของชุดดิน องครักษ์ รังสิตประเภทกรดจัด ชุดดินมูโน๊ะ
และเชียรใหญ่ แสดงว่าความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกัน คือ ดินชุดองครักษ์และรังสิต ประเภทกรดจัด
มีความสมบูรณ์ปานกลาง ส่วนดินชุดมูโน๊ะและเชียรใหญ่ มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูงถึงสูง (ตาราง
ที่ 14.12)
ตารางที่ 14.12 ผลการวิเคราะห์ดินและระดับความอุดมสมบูรณ์ของแต่ละชุดดิน ในกลุ่มชุดดินที่ 10
ชุดดิน pH CEC BS OM Avai.P Exch.K ระดับความ
cmol /kg (%) (%) (mg/kg) (mg/kg) อุดมสมบูรณ์
c
เชียรใหญ่ - 40.45 22.00 13.13 45.00 129.00 สูง
มูโน๊ะ - 21.00 14.50 5.26 37.90 70.50 ปานกลาง
รังสิตกรดจัด 3.90 30.00 46.50 3.69 5.10 128.00 ปานกลาง
องครักษ์ 3.97 30.08 30.06 3.35 4.10 183.00 ปานกลาง
ค่ามัธยฐาน 3.94 30.04 26.03 4.48 21.50 128.50 ปานกลาง
ที่มา : กรมพัฒนาที่ดิน (2548)
กลุ่มชุดดินที่ 11
1) ลักษณะของดิน
ดินในกลุ่มชุดดินที่ 11 ส่วนใหญ่มีเนื้อดินเป็นดินเหนียวตลอดหน้าตัดดิน ดินบนมีสีด�า
หรือสีเทาเข้ม ส่วนดินชั้นล่างสีเทา พบจุดประสีน�้าตาล สีเหลือง และสีแดงปะปนอยู่เป็นจ�านวนมาก
ในดินชั้นล่างตอนบน และพบจุดประสีเหลืองฟางข้าวของจาโรไซต์ในระดับความลึกระหว่าง 50-150 ซม.
จากผิวดินบน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดรุนแรงมาก (pH 4.5-5.0) มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้าง
ต�่าถึงปานกลาง เช่น ชุดดินดอนเมือง ธัญบุรี รังสิต และเสนา
392
392 ความอุดมสมบูรณ์ของดินนา ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว