Page 400 -
P. 400
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กลุ่มชุดดินที่ 16
1) ลักษณะของดิน
ดินในกลุ่มชุดดินที่ 16 มีเนื้อดินเป็นดินร่วนหรือร่วนปนทรายแป้ง สีน�้าตาลปนเทาหรือ
น�้าตาลอ่อน พบจุดประสีน�้าตาลแก่และสีน�้าตาลปนเหลือง ส่วนดินชั้นล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง
หรือดินร่วนเหนียวสีเทาปนชมพู หรือสีน�้าตาลอ่อนปนเทา พบจุดประสีน�้าตาลแก่ สีเหลืองและสีแดง ใน
ดินชั้นล่าง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงกรดจัดมาก (pH 5.0-6.0) มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ
ต�่าถึงปานกลาง เช่น ชุดดินเกาะใหญ่ พานทอง ล�าปาง ศรีเทพ และหินกอง
2) ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ผลการการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของชุดดินในกลุ่ม 16 พบว่า มีความอุดมสมบูรณ์ของ
ชุดดินหินกองและชุดดินพานทองอยู่ในระดับถึงปานกลาง ส่วนชุดดินเกาะใหญ่ ล�าปางและศรีเทพ มีความ
อุดมสมบูรณ์ต�่า (ตารางที่ 14.18)
ตารางที่ 14.18 ผลการวิเคราะห์ดินและระดับความอุดมสมบูรณ์ของแต่ละชุดดิน ในกลุ่มชุดดินที่ 16
CEC BS OM Avai.P Exch.K ระดับความ
ชุดดิน pH cmol /kg (%) (%) (mg/kg) (mg/kg) อุดมสมบูรณ์
c
เกาะใหญ่ - 7.35 34.50 4.36 4.90 63.00 ต�่า
พานทอง - 14.37 79.30 0.80 4.40 225.00 ปานกลาง
ล�าปาง 5.50 5.19 41.00 1.45 6.50 45.00 ต�่า
ศรีเทพ - 3.14 15.53 0.27 3.24 27.20 ต�่า
หินกอง - 1.08 26.75 4.60 - 3.75 ปานกลาง
ค่ามัธยฐาน 5.50 5.19 34.50 1.45 4.65 45.00 ต�่า
ที่มา : กรมพัฒนาที่ดิน (2548)
กลุ่มชุดดินที่ 17
1) ลักษณะของดิน
ดินในกลุ่มชุดดินที่ 17 มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วน ส่วนดินชั้นล่างเป็นดินร่วน
ปนดินเหนียวปนทรายหรือดินร่วนเหนียวสีน�้าตาลอ่อนถึงสีเทา พบจุดประสีน�้าตาล สีเหลืองหรือสีแดง
ปนเหลือง บางพื้นที่จะพบศิลาแลงอ่อนหรือก้อนเหล็กและแมงกานีสสะสมกันในดินชั้นล่างนี้ ปฏิกิริยา
ดินเป็นกรดจัดถึงกรดรุนแรงมาก (pH 4.5-5.5) ความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต�่า เช่น ชุดดินโคกเคียน
บุณฑริก ร้อยเอ็ด เรณู วิสัย สงขลา สุไหงปาดี หล่มเก่า และสายบุรี
396 ความอุดมสมบูรณ์ของดินนา
396 ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว