Page 387 -
P. 387
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การผลิตข้าวด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมทั้งแผนที่แสดงศักยภาพการผลิตข้าวที่เหมาะสม การแบ่งเขต
และกลุ่มชุดดินส�าคัญในแต่ละเขตมีดังนี้
3.1 การแบ่งเขต
ส�านักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าวได้แบ่งพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมดของประเทศไทย ตามลักษณะ
นิเวศและลุ่มน�้าเป็น 2 ส่วน คือ
1) เขตซึ่งมีพื้นที่ปลูกข้าวหนาแน่นหรือปลูกติดต่อกันเป็นบริเวณกว้าง จ�านวน 4 เขต คือ
เขต 2 ภาคเหนือตอนล่าง อยู่ในเขตลุ่มแม่น�้ายมและแม่น�้าน่าน รวม 7 จังหวัด เช่น อุตรดิตถ์
สุโขทัยและตาก
เขต 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน อยู่ในเขตลุ่มแม่น�้าโขง และลุ่มแม่น�้าชี รวม 12
จังหวัด เช่น หนองคาย บึงกาฬ และอุดรธานี
เขต 4 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง อยู่ในเขตลุ่มแม่น�้ามูล รวม 8 จังหวัด เช่น ชัยภูมิ
ยโสธร และอ�านาจเจริญ
เขต 5 ภาคกลาง อยู่ในเขตลุ่มแม่น�้าป่าสักและแม่น�้าเจ้าพระยา โดยรวมภาคตะวันออกและ
ตะวันตกไว้ด้วย จึงมี 28 จังหวัด
2) เขตซึ่งมีพื้นที่ปลูกข้าวไม่หนาแน่น แต่เป็นผืนเล็กกระจายอยู่ทั่วไป จ�านวน 2 เขต คือ
เขต 1 ภาคเหนือตอนบน อยู่ในเขตลุ่มแม่น�้าปิงและแม่น�้าวัง รวม 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย
เชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน
เขต 6 ภาคใต้ อยู่ในเขตลุ่มแม่น�้าตาปี แม่น�้ากระบุรีและทะเลสาบสงขลา รวม 14 จังหวัด
3.2 กลุ่มชุดดินส�าคัญในแต่ละเขต
กลุ่มชุดดินส�าคัญในเขต 1 ถึงเขต 6 มีดังนี้ (ดูบทที่ 3 ประกอบ)
เขต 1 ภาคเหนือตอนบน
มีพื้นที่ปลูกข้าว: ประมาณ 5 ล้านไร่
กลุ่มชุดดินที่ส�าคัญ: กลุ่มชุดดินที่ 3, 4, 15, 16, 17 และ 22
เขต 2 ภาคเหนือตอนล่าง
มีพื้นที่ปลูกข้าว: ประมาณ 8 ล้านไร่
กลุ่มชุดดินที่ส�าคัญ: กลุ่มชุดดินที่ 4, 6, 7, 16 และ 17
เขต 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
มีพื้นที่ปลูกข้าว: ประมาณ 6 ล้านไร่
กลุ่มชุดดินที่ส�าคัญ: กลุ่มชุดดินที่ 6, 17, 25, 35 และ 49
เขต 4 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
มีพื้นที่ปลูกข้าว: ประมาณ 24 ล้านไร่
กลุ่มชุดดินที่ส�าคัญ: กลุ่มชุดดินที่ 17, 18, 22, 24 และ 40
ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว ความอุดมสมบูรณ์ของดินนา 383