Page 383 -
P. 383

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                 1.3 ข้อมูลดินจากรายงานการส�ารวจดิน
                     หากเกษตรกรมิได้เก็บตัวอย่างดินในนาไปวิเคราะห์ดินทางเคมีโดยตรง  แต่ข้อมูลที่เกษตรกร

            เข้าถึงได้เป็นข้อมูลทางอ้อม  เช่น  เป็นผลการวิเคราะห์ดินจากชุดดินเดียวกัน  หรือผลการวิเคราะห์ของ
            ตัวอย่างที่เก็บจากท้องที่ใกล้เคียงกัน  แม้จะใช้เป็นแนวทางในการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินของ
            พื้นที่เป้าหมายได้ระดับหนึ่ง  แต่ความแม่นย�าในการใช้งานย่อมน้อยกว่า  เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลจาก

            การวิเคราะห์ดินจากพื้นที่นั้นโดยตรง
                     ในที่นี้จะกล่าวถึงลักษณะของข้อมูลดิน  จากรายงานการส�ารวจและจ�าแนกดินพอสังเขป  การ

            จ�าแนกดินของประเทศไทยในขั้นต�่าแบ่งเป็นวงศ์ดิน (family) แล้วแบ่งย่อยต่อไปเป็นชุดดิน (soil series)
            (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2548)
                     วงศ์ดิน  แบ่งโดยใช้ลักษณะดินที่มีผลต่อการจัดการ  และการตอบสนองของพืช  โดยทั่วไปใช้

            ความแตกต่างของเนื้อดิน แร่วิทยาของดิน อุณหภูมิดิน ปฏิกิริยาของดินและความลึกของดินเป็นหลัก
                     ชุดดิน  เป็นการแบ่งหน่วยดินเจาะจงที่สุด  ที่แยกออกจากกันภายในวงศ์ดินหนึ่งๆ  โดยใช้ชนิด
            และการจัดเรียงตัวของชั้นดิน ซึ่งเป็นลักษณะของดินหนึ่ง

                     ในการส�ารวจดินนั้นได้มีการขุดหลุมดินและศึกษา
            ลักษณะต่างๆ ของหน้าตัดดิน (soil profile) และการเรียง
            ของชั้นดิน  (soil  horizons)  ในหลุมดินที่ขุดขึ้น  (ภาพที่

            4.1) อันเป็นลักษณะส�าคัญที่ใช้ในการจ�าแนกชุดดิน
                     หน้าตัดดินเป็นผิวด้านข้างของดินที่ตัดลงไปจาก

            ผิวหน้าดินในทางดิ่ง
                     ชั้นดิน คือ ชั้นๆ หนึ่งของวัสดุดินที่วางตัวขนาน
            กับผิวหน้าของดิน ส�าหรับชั้นดินหลัก เช่น ชั้นอินทรีย์ (O)

            ชั้น  A,  E,  B  และ  C  ซึ่งแต่ละชั้นดินหลักมีลักษณะและ
            องค์ประกอบเฉพาะของชั้นดินที่ท�าให้จ�าแนกได้

                     ส�าหรับลักษณะทางสัณฐานวิทยาของดินนั้น ได้มี
            การบันทึกลักษณะที่พบในหน้าตัดดินและในแต่ละชั้นดิน         ภาพที่ 14.1 ลักษณะของหน้าตัดดิน
            เช่น  สีของดิน  เนื้อดิน  โครงสร้างดิน  การยึดตัวของดิน    ในหลุมดินที่ขุด เพื่อการส�ารวจดิน

            สภาพกรดด่างของดิน (ดังรายละเอียดในบทที่ 3)
                     นอกจากนั้นยังเก็บตัวอย่างดินจากแต่ละชั้นดินมาวิเคราะห์ทางเคมี เช่น สภาพกรดด่างของดิน
            ความจุในการแลกเปลี่ยนแคตไอออน (CEC) ความอิ่มตัวด้วยเบส (BS) ปริมาณอินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัส

            ที่เป็นประโยชน์  และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้  อันเป็นข้อมูล  ณ  วันที่ด�าเนินการส�ารวจดิน  อย่างไร
            ก็ตาม  ในภายหลังกรมพัฒนาที่ดินได้ด�าเนินการเก็บตัวอย่างดินใหม่เป็นครั้งคราว  เพื่อปรับปรุงให้ฐาน
            ข้อมูลดินมีความทันสมัยขึ้นตามล�าดับ



                    ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว                           ความอุดมสมบูรณ์ของดินนา  379
   378   379   380   381   382   383   384   385   386   387   388