Page 213 -
P. 213
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2,240
1,920
1,400
1,280
960
640
320
0
20 40 60 80 100 120
ภาพที่ 6.6 น�้าหนักแห้งของส่วนเหนือดินและเมล็ดข้าวในช่วงอายุต่างๆ
(แกนตั้งแปลงข้อมูลจาก กก./เฮ็กตาร์ เป็น กก./ไร่)
ที่มา: ปรับปรุงจาก Fageria et al. (2011)
ต่อเนื่อง เพื่อสร้างพื้นที่ผิวใบซึ่งมีประสิทธิภาพในการสังเคราะห์แสง จึงเหลือคาร์โบไฮเดรตส่วนที่มีใช่
โครงสร้าง สะสมในรูปเม็ดแป้งในลิวโคพลาสต์ (leucoplast) น้อย
5.3.2 คาร์โบไฮเดรตที่สังเคราะห์ได้ตั้งแต่ก�าเนิดช่อดอกจนถึงดอกบาน
นับตั้งแต่ต้นข้าวก�าเนิดช่อดอกจนถึงดอกบาน (65-95 วัน) ต้นข้าวยังมีการเพิ่มน�้าหนัก
แห้งขึ้นเรื่อยๆ เป็นการเพิ่มทั้งน�้าหนักฟางและน�้าหนักช่อดอก ซึ่งแสดงว่าต้นข้าวน�าคาร์โบไฮเดรตที่
สังเคราะห์ได้ในช่วงเวลาดังกล่าว มาเป็นคาร์โบไฮเดรตโครงสร้างของทั้งต้น ใบ และช่อดอกในระยะ
เจริญพันธุ์ เพื่อท�าให้ช่อดอกมีขนาดใหญ่ตามศักยภาพ หลังอายุ 95 วันจึงเหลือคาร์โบไฮเดรตที่ไม่เป็น
โครงสร้างซึ่งสะสมในใบและสามารถเคลื่อนย้ายได้ ส�าหรับเติมเต็มเมล็ดในปริมาณค่อนข้างจ�ากัด
5.3.3 คาร์โบไฮเดรตที่สังเคราะห์ได้ในระยะสุกแก่
แม้ว่าวัฏภาคเติมเต็มเมล็ดหรือระยะสุกแก่ของข้าว เป็นระยะสุดท้ายของช่วงชีวิต (95-
120 วัน) แต่ก็มีความส�าคัญต่อการเพิ่มน�้าหนักเมล็ดข้าวอย่างมาก และคาร์โบไฮเดรตส�าหรับการสร้างเมล็ด
สะสมและเติมเต็มเมล็ด มีที่มา 2 แหล่ง คือ
1) การสังเคราะห์แสงเมื่อเริ่มเข้าสู่ระยะเจริญพันธุ์จนดอกบาน อันเป็นช่วงของการ
ก�าเนิดช่อดอกและพัฒนาช่อดอก ให้มีศักยภาพด้านขนาดรวง ความถี่ของระแง้และจ�านวนเมล็ดนั้น
ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว การเจริิญเติบโตของข้าว 209