Page 214 -
P. 214

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






          คาร์โบไฮเดรตจากการสังเคราะห์แสงสุทธิของใบในระยะดังกล่าว  อันเป็นส่วนที่ไม่ถูกใช้เป็นคาร์โบไฮเดรต
          โครงสร้างของต้น  ใบและแขนงอีกแล้ว  จะเคลื่อนย้ายมายังช่อดอกอย่างรวดเร็ว  (ข้อ  5.2.2)  จึงถือว่า

          คาร์โบไฮเดรตส่วนนี้มีความส�าคัญอย่างมากกว่าส่วนอื่นในการสร้างรวงและเมล็ดในช่วงแรก  เพื่อให้เมล็ด
          เป็นที่รองรับ  (sink)  ซูโครสจากใบซึ่งเป็นแหล่งจ่าย  โดยล�าเลียงทางโฟลเอ็มมาอย่างต่อเนื่องในขณะนั้น
          และในเวลาต่อมา  เนื่องจากเมื่อข้าวออกดอกเป็นต้นไป  (อายุ  95-120  วัน)  นั้น  น�้าหนักฟางมิได้คงที่

          แต่ลดลง และน�้าหนักแห้งของฟางที่ลดลง ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของเมล็ด ประมาณ 30-40 % ของ
          น�้าหนักเมล็ดเมื่อเก็บเกี่ยว

                      2) การสังเคราะห์แสงในระยะสุกแก่  ส�าหรับการเติมเต็มเมล็ดในช่วงหลังดอกบานนั้น
          มาจากคาร์โบไฮเดรตที่ใบสังเคราะห์ได้ในระยะสุกแก่ (ระยะ 7-9 ในข้อ 2.2) และเคลื่อนย้ายไปยังเมล็ด
          คิดเป็นประมาณ 60-70 % ของน�้าหนักเมล็ดเมื่อเก็บเกี่ยว จึงมากกว่าเมื่อเทียบกับปริมาณที่เคลื่อนย้าย

          มาจากส่วนซึ่งเคยสะสมในใบและต้นในระยะเจริญพันธุ์ กล่าวได้ว่าผลผลิตเมล็ดข้าวจะสูงหรือต�่า ส่วนหนึ่ง
          ขึ้นอยู่กับปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ได้จากการสังเคราะห์ในระยะการสุกแก่  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้าวที่ให้
          ผลผลิตสูง  ดังนั้นการใช้ปุ๋ยให้ถูกจังหวะเวลา  เพื่อประคับประคองให้ใบในระยะสุกแก่มีการสังเคราะห์แสง

          สุทธิ จึงมีความส�าคัญต่อการเพิ่มน�้าหนักเมล็ดอย่างมาก
                      นอกจากนี้รากของข้าวผลผลิตสูง  ยังสามารถดูดไนโตรเจนและธาตุอาหารอื่นๆ  ได้มาก
          แม้จะอยู่ในระยะการเติบโตด้านการสุกแก่ แต่รากก็ต้องการคาร์โบไฮเดรตจากใบไปเลี้ยงอย่างเพียงพอด้วย

               5.3 การเป็นหมันของดอกและเปอร์เซ็นต์เมล็ดเต็ม
                  การเป็นหมันของดอก  เป็นปัจจัยหนึ่งที่กระทบต่อผลผลิตข้าว  โดยปรกติในสภาพแวดล้อมที่

          เหมาะสม เมล็ดเต็มในรวงข้าวมีประมาณ 85 % ที่เหลือ 15 % เป็นเมล็ดลีบ ในจ�านวนนี้ 5-10 % เป็น
          ดอกที่ไม่มีการปฏิสนธิ  ส่วนอีก  5  %  เป็นเมล็ดที่ลีบเพราะไม่มีคาร์โบไฮเดรตมาสะสม  หรือสะสมเพียง
          เล็กน้อยแม้ดอกจะมีการปฏิสนธิ

                  ดังนั้นถ้าต้นข้าวเมล็ดเต็มมากกว่า 85 % แสดงว่า (1) เปอร์เซ็นต์ของดอกที่ผ่านการปฏิสนธิสูง
          เช่น  ปฏิสนธิทั้งหมด  และ  (2)  ดอกที่ปฏิสนธิแล้วมีคาร์โบไฮเดรตมาเติมเต็มครบถ้วน  เนื่องจากใบข้าว

          สมบูรณ์มีคาร์โบไฮเดรตมากพอที่เคลื่อนย้ายมายังที่รองรับอาหารซึ่งมีขนาดใหญ่  แคลเซียมมีบทบาทส�าคัญ
          ในการยืดตัวของหลอดเรณู  เพื่อน�าเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้มาผสมกับเซลล์ไข่ในออวูล  ธาตุนี้จึงส่งเสริมการ
          ปฏิสนธิของดอกข้าว

                  แต่ถ้าข้าวมีเมล็ดเต็มมีน้อยกว่า 80 % แสดงว่า (1) เปอร์เซ็นต์ของดอกที่ผ่านการปฏิสนธิต�่ากว่า
          ปรกติ ขนาดที่รองรับอาหารจึงเล็ก หรือ (2) ใบไม่สมบูรณ์เพราะมีคาร์โบไฮเดรตที่เคลื่อนย้ายได้น้อย
                  ในระยะการเติมเต็มเมล็ดนั้น ไนโตรเจนมีอิทธิพลต่อปริมาณเมล็ดลีบในรวงข้าวดังนี้

                  1) ประมาณ  70  %  ของไนโตรเจนที่เคยสะสมในส่วนเหนือดิน  ได้เคลื่อนย้ายไปยังเมล็ดเพื่อ
          สังเคราะห์โปรตีน  ดังนั้นหากปริมาณไนโตรเจนที่รากดูดได้จากดินในช่วงนี้น้อย  จะเป็นสาเหตุหนึ่งที่
          ท�าให้เมล็ดลีบ



          210 การเจริิญเติบโตของข้าว                                 ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว
   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218   219