Page 209 -
P. 209
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
FM
SM
BM
IM
SAM
ภาพที่ 6.4 ใบธง (flag leaf) และโครงสร้างของช่อดอกข้าวแสดงส่วนประกอบหลัก คือ ก้านช่อดอก (rachis)
ก้านปฐมภูมิ (primary branch) ก้านทุติยภูมิ (secondary branch) ช่อดอกย่อย (spikelet) และ
ดอกย่อย (floret) และมีล�าดับของการเกิดเยื่อเจริญ (meristem) ดังนี้ ของเดิม คือ เนื้อเยื่อ
เจริญปลายยอด (shoot apical meristem, SAM) กลายเป็นเยื่อเจริญส�าหรับเริ่มเกิดดอกอ่อน
(inflorescence meristem, IM) ซึ่งกลายเป็นช่อดอกแรกเกิด (panicle primordia) เมื่อเจริญ
เติบโตต่อไป เนื้อเยื่อบางส่วนจะเป็นเนื้อเยื่อเจริญของระแง้ (branch meristem, BM) เนื้อเยื่อเจริญ
ของช่อดอกย่อย (spikelet meristem, SM) และเนื้อเยื่อเจริญของดอกย่อย (floral meristem, FM)
ตามล�าดับ ที่มา: ปรับปรุงจาก Yoshida and Nagato (2011)
มีแขนงอันเป็นที่เกิดของช่อดอกย่อย และแต่ละช่อดอกย่อยก็มีดอกย่อย ดังนั้นเนื้อเยื่อเจริญปลายยอด
ส�าหรับเริ่มเกิดดอกอ่อน จึงพัฒนาจนขนาดใหญ่ขึ้น แล้วได้เนื้อเยื่อเจริญอีก 3 ประเภท ตามล�าดับ
คือ (1) เนื้อเยื่อเจริญของแขนง (2) เนื้อเยื่อเจริญของช่อดอกย่อย และ (3) เนื้อเยื่อเจริญของดอกย่อย
ซึ่งเมื่อเจริญเติบโตครบถ้วนแล้วจะเป็นช่อดอกข้าวในที่สุด (Yoshida and Nagato, 2011) ดังภาพที่ 6.5
ส�าหรับขั้นตอนการเติบโตและแปรสภาพเป็นช่อดอกข้าวแสดงไว้ในภาพที่ 6.4
4.4.4 การเจริญของดอก (floral development)
เริ่มเมื่อปุ่มก�าเนิดดอกพัฒนาโครงสร้างที่เป็นดอก ซึ่งมีทั้งส่วนที่จ�าเป็นส�าหรับการสืบพันธุ์
เช่น เกสรเพศผู้และเกสรเพศเมีย กับส่วนที่ไม่จ�าเป็นส�าหรับการสืบพันธุ์ เช่น กลีบเลี้ยงและกลีบดอก
ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว การเจริิญเติบโตของข้าว 205