Page 212 -
P. 212

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






          ดังกล่าวจะก�าหนดน�้าหนักเมล็ด  และการเป็นหมัน  ซึ่งแสดงออกด้วยจ�านวนเมล็ดลีบ  ทั้งสองประการนี้
          จัดเป็นองค์ประกอบผลผลิตที่ส�าคัญ

                  ผลหรือเมล็ดข้าวเป็นผลแห้งติดเมล็ดหรือแครีออพซิส หนึ่งผลมีเมล็ดเดียว มีเปลือกหุ้มผลจ�านวน
          2 ชิ้นประกบกัน ชิ้นใหญ่เรียกว่ากาบล่างหรือเลมมา และชิ้นเล็กคือกาบบนหรือพาเลีย มีเยื่อหุ้มผลติดอยู่
          กับส่วนของเยื่อหุ้มเมล็ด ส�าหรับเมล็ดประกอบด้วย 2 ส่วน  คือ เอ็มบริโอและเอนโดสเปิร์ม

                  ในวัฏภาคเติมเต็มเมล็ดหรือสุกแก่ของข้าว  ดัชนีพื้นที่ใบจะค่อยๆ  ลดลงเนื่องจากใบวายจากใบล่าง
          ขึ้นมา  เนื่องจากการเคลื่อนย้ายของธาตุอาหาร  เช่น  ไนโตรเจนบางส่วนออกจากใบแก่  ถึงแม้การวาย

          ของใบในช่วงดังกล่าวจะเป็นปรากฏการณ์ปรกติ  แต่มีความจ�าเป็นอย่างยิ่ง  ที่ต้องประคับประคองให้ใบ
          คงสภาพเดิมด้านความเขียวเท่าที่สามารถจะท�าได้  จนใกล้จะสิ้นสุดระยะสุกแก่  เนื่องจากการสังเคราะห์
          แสงของใบในช่วงนี้ มีความส�าคัญต่อการเติมเต็มเมล็ด และเพิ่มน�้าหนักเมล็ด ดังจะได้กล่าวต่อไป

                  ส�าหรับวัฏภาคเติมเต็มเมล็ดหรือสุกแก่ยังแบ่งย่อยได้เป็นหลายระยะ เช่น ระยะน�้านม แป้งเปียก
          อ่อน  เมล็ดเริ่มเหลือง  และสุกแก่  โดยพิจารณาจากสภาพของแป้งและสีของแป้งในเมล็ดที่เปลี่ยนแปลง

          ระหว่างกระบวนการสุกแก่ ในระยะการเติบโตด้านการสุกแก่นี้ ถือว่ากระบวนการก�าเนิดสัณฐานของข้าว
          ได้จบสิ้นอย่างสมบูรณ์แล้ว กล่าวคือ
                  1) สารอินทรีย์ที่พืชได้จากการสังเคราะห์แสง ได้เคลื่อนย้ายมาสะสมที่เมล็ดในรูปของแป้งแล้ว

          อย่างเต็มที่ และ
                  2) สารอินทรีย์ที่เคลื่อนย้ายได้ประเภทคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน  ตลอดจนธาตุอาหารต่างๆ

          ที่เคลื่อนย้ายทางโฟลเอ็มได้  ซึ่งเคยสะสมอยู่ในใบและต้นก็เคลื่อนย้ายมาสะสมในเมล็ดด้วย  เป็นเหตุให้
          อวัยวะเหล่านั้นเริ่มวายอย่างช้าๆ เช่นเดียวกัน
               5.3 แหล่งของคาร์โบไฮเดรตในการสร้างเมล็ด

                  ประมาณ 85 % ของน�้าหนักเมล็ดข้าวเป็นคาร์โบไฮเดรตซึ่งส่วนใหญ่คือแป้ง และแป้งที่สะสม
          ในเมล็ดมาจาก 2 ช่วงของการเติบโต คือ คาร์โบไฮเดรตมาจากการสะสมในส่วนเหนือดินก่อนการออกดอก

          และคาร์โบไฮเดรตที่ใบสร้างขึ้นหลังการออกดอกหรือระหว่างการเติมเต็มเมล็ด  ดังนั้นการเพิ่มผลผลิตข้าว
          จึงต้องเพิ่มทั้งคาร์โบไฮเดรตที่สะสมไว้ก่อนการออกดอก  และคาร์โบไฮเดรตที่สร้างใหม่ในช่วงการพัฒนา
          รวงและระยะเมล็ดสุกแก่

                  5.3.1 คาร์โบไฮเดรตที่สังเคราะห์ได้ก่อนก�าเนิดช่อดอก
                      คาร์โบไฮเดรตที่ข้าวสังเคราะห์ได้ในระยะการเติบโตไม่อาศัยเพศ ตั้งแต่เป็นต้นกล้าจนถึง

          เริ่มก�าเนิดช่อดอก กรณีของข้าวอายุ 120 วัน (ภาพที่ 6.6) นับจากเป็นต้นกล้าจนถึงอายุประมาณ 65
          วัน  คาร์โบไฮเดรตอันเป็นผลของการสังเคราะห์แสงสุทธิ  (เหลือจากที่ใช้เพื่อการหายใจ)  ถูกน�าไปใช้เป็น
          โครงคาร์บอนส�าหรับการสร้างสารประกอบที่เป็นผนังเซลล์ โปรตีน ลิพิด กรดนิวคลีอิก อันเป็นโครงสร้าง

          ของเซลล์ซึ่งเรียกรวมกันว่าคาร์โบไฮเดรตโครงสร้าง  ในราก  แขนงใหม่  ใบและต้น  ซึ่งมีการเติบโตอย่าง




          208 การเจริิญเติบโตของข้าว                                 ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว
   207   208   209   210   211   212   213   214   215   216   217