Page 173 -
P. 173

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                 2.3 การกระจายของรากในดิน
                    ในแง่การกระจายของรากฝอยของข้าวในดิน  อาจแบ่งรากข้าวตามระดับความลึกและสภาพของ

            ชั้นดินที่แตกต่างกันได้เป็น 3 ชนิด (ภาพที่ 5.6) คือ
                    1) รากผิวดิน (superficial roots) อยู่ในน�้าและดินชั้นที่มีออกซิเจน (oxic soil)
                    2) รากล�าดับแรกหรือรากปฐมภูมิซึ่งมีรากแขนงในดินล่างซึ่งไม่มีออกซิเจน (anoxic soil)

                    3) รากเล็กๆ (fine roots) ซึ่งแทรกอยู่บริเวณชั้นดานไถ (plough pan)





























            ภาพที่ 5.6  ระบบรากข้าวแสดงราก  3  ชนิด  (1)  รากผิวดิน  (superficial  roots)  อยู่ในน�้าที่ขังอยู่บนผิวดิน
                     (flood  water)  และดินชั้นที่มีออกซิเจน  (oxic  soil)  (2)  รากปฐมภูมิ  (primary  roots)  ซึ่งมี

                     รากแขนง  (lateral  root)  ในดินล่างซึ่งไม่มีออกซิเจน  (anoxic  soil)  และ  (3)  รากเล็กๆ  (fine
                     roots) ซึ่งแทรกอยู่บริเวณชั้นดานไถ (plough pan)
                     ที่มา: ปรับปรุงจาก Kirk (2004)




                 2.4 กายวิภาคของรากข้าว
                    กายวิภาคศาสตร์ของพืช  คือ  การศึกษาเรื่องราวของรูปร่าง  ลักษณะภายในและโครงสร้าง

            ของพืช  อธิบายเรื่องเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ  ที่ประกอบกันเป็นอวัยวะ  ก�าเนิดของอวัยวะ  โครงสร้าง
            ลักษณะส�าคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับหน้าที่ของอวัยวะนั้น ในข้อนี้จะอธิบายกายวิภาคของรากข้าว เพื่อให้เข้าใจ
            โครงสร้างของรากข้าวในแต่ละระยะการเติบโต

                    2.4.1 เนื้อเยื่อในรากข้าว
                        รากข้าวประกอบด้วยเนื้อเยื่อต่างๆ ดังนี้




                    ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว                                สัณฐานวิทยาของข้าว  169
   168   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178