Page 168 -
P. 168
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1
ค�าน�า
สัณฐานวิทยา (morphology) ของพืช เป็นความรู้ที่ครอบคลุมเรื่องราว 4 ส่วน คือ (1) ลักษณะ
รูปร่างภายนอก (form) และโครงสร้าง (structure) ในเชิงเปรียบเทียบของพืชต่างสกุล (genus) ต่างชนิด
(species) หรือต่างพันธุ์ในชนิดเดียวกัน (2) ลักษณะภายนอกและโครงสร้างของอวัยวะ 2 แบบ คือ
โครงสร้างที่มิได้ใช้เพื่อการเจริญพันธุ์ (vegetative structure หรือ somatic structure) เช่น โครงสร้าง
ของราก ล�าต้น และใบ และโครงสร้างด้านเจริญพันธุ์ (reproductive structure) เช่น โครงสร้างของ
ดอก ผล และเมล็ด ดังภาพที่ 5.1 (3) รายละเอียดของเซลล์และเนื้อเยื่อ ซึ่งมีความคาบเกี่ยวกับสาขา
กายวิภาคศาสตร์ของพืช (plant anatomy) และ (4) ธรรมชาติของการเจริญเติบโตของพืช เพื่อพิจารณา
เรื่องพัฒนาการของแต่ละอวัยวะ รวมทั้งศึกษาเกี่ยวกับวงจรชีวิตของพืช
บทนี้มีเป้าหมายที่จะอธิบายลักษณะและรูปร่างของอวัยวะต่างๆ ของข้าว ชื่อและส่วนประกอบ
ของแต่ละอวัยวะ เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาเรื่องการเจริญเติบโตของข้าวในบทที่ 5
ปรกติการปลูกข้าวเป็นการปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวเมล็ดที่สุกแก่ แล้วเตรียมดินปลูกใหม่ แต่ในเขตร้อน
ข้าวสามารถมีชีวิตอยู่ได้โดยการไว้ตอ (ratoon) และให้ผลผลิตมากกว่าหนึ่งครั้ง ต้นข้าวอาจมีความสูง
1-1.5 เมตร ขึ้นอยู่กับพันธุ์และความอุดมสมบูรณ์ของดิน มีใบเรียว ยาว 50-80 เซนติเมตร และกว้าง
2-2.5 เซนติเมตร ช่อดอกห้อยยาว 30-40 เซนติเมตร ผลของข้าวเป็นผลธัญพืช (caryopsis) ยาว 5-12
มิลลิเมตร และหนา 2-3 มิลลิเมตร เมล็ดกินได้
การจ�าแนกข้าวทางอนุกรมวิธาน (taxonomic classification) ของข้าวมีดังนี้
ชั้น (Class) : Angiospermae
ชั้นย่อย (Subclass) : Monocotyledoneae
อันดับ (Order) : Graminales
วงศ์ (Family) : Poaceae (เดิมใช้ Gramineae)
วงศ์ย่อย (Sub-family) : Pooideae
เผ่า (Tribe) : Oryzeae
สกุล (Genus) : Oryza
ชนิด (Species) : sativa
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oryza sativa L.
ขื่อสามัญ : ข้าว (Rice)
164 สัณฐานวิทยาของข้าว ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว