Page 171 -
P. 171
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2) การงอกของเมล็ดข้าวในสภาพที่มีแสงและในที่มืด มีลักษณะของรากแรกเกิด ใบ
และลักษณะการยืดตัวของล�าต้นต่างกัน เมล็ดข้าวซึ่งงอกในที่มืดจะเติบโตเร็วกว่าเล็กน้อย
รากแรกเกิดมีอายุสั้นมาก แต่จะมีรากพิเศษแรกเกิด (seminal root) ซึ่งมีแขนง 2-3
รากออกมาเสริม แต่อยู่ได้ไม่นานก็ตายไป ต่อจากนั้นก็มีรากพิเศษล�าดับที่สอง (secondary adventitious
root) เติบโตออกมาท�าหน้าที่แทน จนกลายเป็นระบบรากฝอยที่สมบูรณ์ (ภาพที่ 5.4)
ภาพที่ 5.4 รากข้าวเมื่ออายุ 3 สัปดาห์ ภาพที่ 5.5 รากพิเศษ (adventitious roots)
แสดงระบบรากฝอยที่สมบูรณ์ ที่ส่วนล่างของล�าต้น
ที่มา: http://www-plb.ucdavis.edu/labs/rost/Rice/
roots/rtderbuu.html
2.1.2 รากของข้าวเต็มวัย
รากข้าวเต็มวัยเป็นรากวิสามัญหรือรากพิเศษ (adventitious root) เพราะไม่ได้ก�าเนิด
มาจากรากแก้ว (primary root หรือ tap root) หรือรากแขนง (lateral root หรือ branch root) ของ
รากแก้ว แต่เติบโตจากโคนต้นหรือข้อของต้น (adventitious แปลว่าบังเอิญ ภายนอก ผิดปรกติ ที่เพิ่ม
ขึ้นมา ที่เพิ่มหรืองอกออกมาแบบไม่ปรกติ)
รากข้าวเป็นรากวิสามัญหรือรากพิเศษที่มีลักษณะเป็นรากฝอย (fibrous root) เนื่องจาก
มีลักษณะเป็นรากเส้นเล็กๆ มากมาย ขนาดโตสม�่าเสมอกัน ไม่ได้เรียวลงที่ปลายอย่างรากแก้ว งอกออก
จากรอบโคนต้นแทนรากแรกเกิดและรากพิเศษแรกเกิดที่ฝ่อไปเสียก่อน พบรากพิเศษในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ ยังมีรากพิเศษประเภทรากค�้ายันหรือรากค�้าจุน (prop root) ที่แตกออกมา
จากข้อของล�าต้นที่อยู่ใต้ดินและเหนือดินขึ้นมาเล็กน้อย และเติบโตลงไปในดินเพื่อพยุงล�าต้นเอาไว้ ไม่ให้
ล้มง่าย
ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว สัณฐานวิทยาของข้าว 167