Page 170 -
P. 170
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2.1 ระบบรากและประเภทของราก
ข้าวมีระบบรากฝอย (fibrous root system) ประกอบด้วยรากที่มีขนาดใกล้เคียงกันจ�านวนมาก
รากดังกล่าวเติบโตมาจากเซลล์ที่อยู่ปลายล่างสุดของล�าต้น หรืองอกจากรอบๆ โคนต้นแทนรากเดิมที่ฝ่อไป
หรืองอกจากข้อล่างๆ ของล�าต้น รากมีขนาดสม�่าเสมอตลอดความยาว ในแต่ละระยะการเติบโตของข้าว
มีประเภทของรากที่พบแตกต่างกัน จึงขอแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ รากกล้าข้าวและรากของข้าวเต็มวัย ดังนี้
2.1.1 รากของกล้าข้าว
กล้าข้าวมีราก 2 ชนิด คือ (1) รากแรกเกิด (radicle) ของเอ็มบริโอ และ (2) รากพิเศษ
แรกเกิด (seminal roots) (ภาพที่ 5.3) ซึ่งเกิดเมื่อเมล็ดงอกแล้วและอยู่ไม่นาน รากนี้แตกแขนงห่างๆ
รากข้าวเป็นอวัยวะที่พัฒนามาต่อเนื่องจากรากแรกเกิดของเอ็มบริโอ รากเติบโตลงไปใน
ดิน ท�าหน้าที่ดูดน�้าและธาตุอาหาร สภาพแวดล้อมในขณะที่เมล็ดงอกมีผลต่อลักษณะของการงอกดังนี้
1) การระบายน�้า: เมื่อเมล็ดงอกในสภาพที่มีการระบายน�้าดี เอ็มบริโอส่วนล่างจะเติบโต
เร็วกว่า จึงมีเนื้อเยื่อหุ้มรากแรกเกิด (coleoryza) โผล่ออกมาจากเมล็ดก่อน ภายในเนื้อเยื่อหุ้มรากแรก
เกิดมีรากแรกเกิด หรือรากปฐมภูมิ (primary root) อยู่ภายใน ต่อมารากแรกเกิดก็โผล่พ้นออกมาจาก
เนื้อเยื่อที่หุ้ม แต่เมล็ดที่งอกในสภาพที่มีน�้าขัง เอ็มบริโอส่วนบนจะเติบโตเร็วกว่า จึงมีเนื้อเยื่อหุ้มยอดแรก
เกิด (coleoptile) ลักษณะเป็นกรวยกลมโผล่ออกมาจากเมล็ดก่อน ภายในเนื้อเยื่อหุ้มยอดแรกเกิดมียอด
อ่อนซึ่งจะเติบโตเป็นใบแรก
ภาพที่ 5.3 ต้นและรากข้าวที่เพิ่งงอกจากเมล็ด ขณะนี้รากแรกเกิด (radicle) ได้หายไปแล้ว และมีรากพิเศษ
แรกเกิด (seminal root) และรากแขนงหรือรากย่อย (rootlets) แทน ใบข้าวจากการงอก
ของเมล็ด มีใบแรก (primary leaf) และใบที่สอง (second leaf) ซึ่งมีเนื้อเยื่อหุ้มยอดแรกเกิด
(coleoptile) รองรับอยู่ พบมีโซโคทีล (mesocotyl) อยู่เหนือเมล็ด
ที่มา: ปรับปรุงจาก http://ricepedia.org/rice-as-a-plant/parts-of-the-rice-plant
166 สัณฐานวิทยาของข้าว ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว