Page 176 -
P. 176
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
แอเรงคิมา (aerenchyma : พาเรงคิมาซึ่งมีช่องอากาศมากเป็นพิเศษ) คือ เนื้อเยื่อ
ในรากซึ่งเดิมคือพาเรงคิมา ต่อมาบางเซลล์ได้ตายลง เป็นการตายของเซลล์ตามโปรแกรมที่ก�าหนด
(programmed cell death) ซึ่งเหนี่ยวน�าจากภาวะขาดออกซิเจน รากจึงมีช่องอากาศมาก และ
ต่อเนื่องจากโคนรากถึงปลายราก แล้วเชื่อมกับช่องอากาศของต้น-ใบ อากาศจึงเคลื่อนย้ายจากส่วนเหนือ
ดินถึงราก แต่รากมีปริมาณเซลล์ของเนื้อเยื่อที่หายใจ/ปริมาตรรากลดลง การพัฒนาให้มีช่องว่างเพิ่มขึ้น
จนกลายเป็นแอเรงคิมาแสดงไว้ในภาพที่ 5.9
ภาพที่ 5.9 ชั้นคอร์เทกซ์ของราก เดิมมีเนื้อเยื่อพาเรงคิมา (parenchyma) อยู่เต็ม เมื่อเนื้อเยื่อส่วนนี้มีการ
เปลี่ยนแปลงจนเกิดช่องอากาศอยู่ทั่วไป จึงเรียกว่าแอเรงคิมา (aerenchyma)
ที่มา: http://www.plantstress.com/articles/waterlogging_i/waterlog_i.htm
2.5 การท�าหน้าที่ของราก
รากข้าวท�าหน้าที่ 4 ประการ คือ การดูดและการล�าเลียงธาตุอาหาร (ดังรายละเอียดในบทที่ 6)
การดูดและการล�าเลียงน�้า เป็นทางเคลื่อนที่ของแก๊สและการเคลื่อนย้ายธาตุอาหารภายในราก
1) การดูดและการล�าเลียงน�้า-อากาศ การล�าเลียงน�้าและอากาศในรากที่มีแอเรงคิมามาก
และมีเอ็กโซเดอร์มิส
172 สัณฐานวิทยาของข้าว ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว