Page 178 -
P. 178

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                    (2) วิถีซิมพลาสต์ ไอออนในสารละลายดินบริเวณราก เข้าสู่กลไกการดูดด้วยโปรตีนขนส่ง
          ที่เซลล์ผิวราก หรือเซลล์ใดเซลล์หนึ่งในคอร์เทกซ์ ไอออนที่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์แล้วและอยู่ในเซลล์ใดเซลล์หนึ่ง

          จะเคลื่อนย้ายระหว่างเซลล์จากเซลล์หนึ่งไปยังเซลล์ข้างเคียงในแนวรัศมีของราก  โดยผ่านพลาสโมเดสมาตา
          (เส้นผ่าศูนย์กลาง 20-60 นาโนเมตร ความถี่ 15 อัน/พื้นที่ 1 ตารางไมโครเมตร) จากเซลล์ผิวรากจนถึง
          เซลล์ชั้นสุดท้ายของคอร์เทกซ์  แล้วผ่านพลาสโมเดสมาตาที่เชื่อมกับเซลล์ในชั้นเอนโดเดอร์มิส  เซลล์ในชั้น

          เพริไซเคิลและเซลล์พาเรงคิมาที่ล้อมรอมไซเล็มเวสเซล เพื่อล�าเลียงเข้าสู่เวสเซลอันเป็นท่อล�าเลียงน�้าและ
          ธาตุอาหารจากรากสู่ส่วนเหนือดินต่อไป


                                                                                             3



                                                                                     ล�าต้น





                  ส่วนเหนือดิน (shoot) ของข้าวประกอบด้วยล�าต้น (culm) และใบ (leaf) เมื่อเมล็ดงอกในดิน
          และไม่มีแสง เนื้อเยื่อหุ้มยอดอ่อนซึ่งมีลักษณะเป็นกรวยกลมครอบยอดอ่อนภายใน จะเริ่มโผล่ออกมาจาก

          เมล็ดและแทงดินจนโผล่พ้นผิวดิน  เนื่องจากปล้องแรกหรือมีโซโคทิล  ซึ่งอยู่ที่ฐานของเนื้อเยื่อหุ้มยอดอ่อน
          ได้ยืดตัวให้ยาวขึ้น  เมื่อเนื้อเยื่อหุ้มยอดอ่อนโผล่พ้นผิวดินแล้ว  ยอดอ่อนภายในซึ่งบอบบางมากจึงแทงทะลุ

          เยื่อหุ้มออกมาอย่างปลอดภัย เนื่องจากไม่ต้องเสียดสีกับดิน
                  ล�าต้นของข้าว (culm) ประกอบด้วยข้อ (node) และปล้อง (internode) ข้อเป็นส่วนของล�าต้น
          ที่ส่วนในมีเซลล์อยู่เต็ม  ส่วนนอกเป็นที่เกิดของใบและตา  โดยตาอยู่เหนือข้อเล็กน้อย  มีกาบหุ้ม  ตาอาจ

          เติบโตเป็นใบ  หรือเป็นแขนง  หรือหน่อ  (tiller)  ในข้อมีเนื้อเยื่อเรียกว่าผนังกั้นที่ข้อ  (nodal  septum)
          ท�าหน้าที่แบ่งปล้องออกจากกัน  ปล้องของล�าต้นข้าวส่วนที่อ่อนจะมีผิวเรียบและข้างในตัน  ส่วนปล้องซึ่ง

          เติบโตเต็มที่แล้ว ผิวนอกเป็นร่องเล็กๆ และภายในกลวง ปล้องบนยาวกว่าปล้องล่าง ส�าหรับปล้องล่างๆ
          สั้นและหลายปล้องอยู่ชิดกัน ท�าให้ล�าต้นส่วนล่างแข็งแรง
                  หน่อหรือแขนงแตกออกจากล�าต้นโดยแตกสลับข้างกัน (alternate pattern) แขนงที่แตกจาก

          ล�าต้นหลักหรือต้นแม่เรียกว่าแขนงล�าดับแรก  (primary  tiller)  ซึ่งเกิดจากข้อที่อยู่ล่างสุดก่อน  ระหว่าง
          แขนงกับต้นจะมีโพรฟิลล์  (prophyll)  ลักษณะคล้ายกาบใบกั้นอยู่  ข้อล่างของแขนงล�าดับแรกจะแตก

          แขนงออกไปได้อีกเป็นแขนงล�าดับที่สอง (secondary tiller) แขนงใหม่ที่แตกออกจากแขนงล�าดับที่สอง
          เรียกว่าแขนงล�าดับที่สาม (tertiary tiller)
                  ล�าต้นข้าวที่เติบโตเต็มที่แล้ว  ประกอบด้วยเนื้อเยื่อชั้นผิว  มัดท่อล�าเลียง  เนื้อเยื่อพื้น  และ

          แอเรงคิมาส่วนกลาง




          174 สัณฐานวิทยาของข้าว                                     ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว
   173   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183