Page 182 -
P. 182
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
แต่ละข้อของก้านอันใหญ่แตกแขนงเรียกว่าระแง้ปฐมภูมิ (primary branches) และแต่ละข้อ
ของระแง้ปฐมภูมิจะแตกแขนงออกไปอีก เป็นระแง้ทุติยภูมิ (secondary branches) ที่ปลายมีช่อดอกย่อย
(spikelet) และดอกย่อย (floret) ก้านดอกย่อย (pedicel) ติดอยู่ที่ระแง้ทุติยภูมิ (ภาพที่ 5.12) ส�าหรับ
ช่อดอกย่อยประกอบด้วยก้านดอกย่อยและดอกย่อยที่สืบพันธุ์ได้ (fertile floret) 1 ดอก (ภาพที่ 5.13)
และกาบบนที่เป็นหมัน (sterile lemma) หรือ กาบช่อย่อยที่ไม่เจริญ (empty glume หรือ rudimentary
glume) จ�านวน 2 อัน การมีข้อของระแง้ปฐมภูมิและระแง้ทุติยภูมิถี่นั้น เรียกว่า “ระแง้ถี่” ท�าให้มี
จ�านวนช่อดอกย่อยต่อรวงมาก ซึ่งเป็นลักษณะของพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูง (ประพาส 2552)
ภาพที่ 5.12 ไดอะแกรมของช่อดอกแบบช่อแยกแขนง (panicle)
แสดงระแง้ปฐมภูมิ (primary branches) และระแง้ทุติยภูมิ (secondary branches)
ภาพที่ 5.13 ช่อดอกย่อย (spikelet) ของข้าว มีดอกย่อย (floret) แต่ละดอกย่อยมีก้านดอกย่อย (prdicel)
ที่มา: Rice Knowledge Bank (http://www.knowledgebank.irri.org/
178 สัณฐานวิทยาของข้าว ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว