Page 184 -
P. 184
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กาบล่างเป็นกลีบรองที่แข็ง มีขนาดใหญ่กว่ากาบบนและครอบกาบบนไว้บางส่วน ผิวนอกของ
ทั้งกาบล่างและกาบบนมีสันตามความยาว (nerves) กาบล่างมี 5 สัน ส่วนกาบบนมี 3 สัน ปลายแหลมที่
ยอดของกาบล่างและกาบบนเรียกว่าติ่งแหลมอ่อน (apicula) ส่วนหนวดข้าวหรือหางข้าวหรือรยางค์แข็ง
(awn) ซึ่งเกิดจากการยืดขยายจากสัน (nerve) อันกลางของกาบล่าง
ภายในดอกย่อยมีดอก (flower) อยู่หนึ่งดอก ซึ่งประกอบด้วยเกสรเพศผู้ (stamen) และเกสร
เพศเมีย (pistil)
เกสรเพศผู้ มีอับเรณู (anthers) ลักษณะเป็นสองพู จ�านวน 6 อัน แต่ละอันมีก้านชูอับเรณู
(filament)
เกสรเพศเมีย ประกอบด้วยรังไข่ (ovary) ภายในมีออวุล (ovule) 1 อัน กับยอดเกสรเพศเมีย
(stigma) 2 อันแต่ละอันมีก้านเกสรเพศเมีย (style) ซึ่งแยกออกเป็น 2 แฉก ชูยอดเกสรเพศเมีย ซึ่งมี
ลักษณะเป็นพู่ (plumose)
เกสรเพศเมีย คือ อวัยวะซึ่งท�าหน้าที่ในการสืบพันธุ์ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนล่างสุด
โป่งพอง ภายในมีโพรงเรียกรังไข่ซึ่งอยู่บนฐานรองดอก ส่วนบนของรังไข่จะเรียวเล็กเป็นก้านเกสรเพศเมีย
ปลายสุดเป็นยอดเกสรเพศเมีย ภายในรังไข่ของข้าวมีออวุล (ovule) 1 อัน ภายนอกมีก้านเกสรเพศเมีย
ซึ่งแยกออกเป็น 2 แฉก ท�าหน้าที่ชูยอดเกสรเพศเมียออกมารับละอองเรณู
ออวุลอยู่ในรังไข่ ภายในออวุลจะมีไข่ (egg) ซึ่งเมื่อไข่ได้รับการผสมพันธุ์จะเจริญกลายเป็น
เมล็ด ออวุลมีก้านออวุล (funiculus) ท�าหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างออวุลกับผนังรังไข่ โดยติดกับผนังรังไข่
บริเวณที่เรียกว่า พลาเซนตา (placenta)
ส่วนล่างที่ฐานของรังไข่มีกลีบเกล็ดหรือโลดิคูล (lodicule) เป็นรูปไข่ 1 คู่ อยู่ติดกับโคนของ
กาบล่างและกาบบน ท�าหน้าที่ส�าคัญตอนดอกบาน โดยปรับสภาพเซลล์ให้เต่งแล้วผลักยันจนกาบล่าง
และกาบบนถ่างออก เพื่อเปิดช่องให้เกสรเพศผู้โผล่พ้นออกมา เมื่อดอกข้าวบานจึงเห็นอับเรณูและก้าน
ชูเกสรเพศผู้ หลังจากอับเรณูแตกออกและโปรยหรือถ่ายละอองเรณู (pollination) แล้ว กลีบเกล็ดหรือ
โลดิคูลจะแฟบลง ดึงให้กาบล่างและกาบบนกลับสู่ต�าแหน่งเดิม ท�าให้ดอกข้าวหุบ ข้าวเป็นพืชผสมตัวเอง
(self pollinated crop) อาจมีการผสมเกสรแบบข้ามต้น (cross-pollination) ประมาณ 0.5-5 %
เท่านั้น ปรกติการถ่ายเรณูเกิดขึ้นภายในดอกเดียวกันในเวลาเช้า ก่อนที่กลีบล่างและกลีบบนจะบานออก
เล็กน้อย ดอกข้าวจะเริ่มบานจากปลายรวงลงมาสู่โคนของรวงข้าว และรวงหนึ่งๆ จะใช้เวลาประมาณ
7 วัน เพื่อให้ดอกทุกดอกได้บานและมีการถ่ายเรณู
โพแทสเซียมเป็นธาตุที่มีบทบาทส�าคัญในการควบคุมการเต่งและแฟบของโลดิคูล เช่นเดียวกับ
ที่ช่วยควบคุมการเต่งและแฟบของเซลล์คุมซึ่งท�าให้ปากใบเปิดและปิด การเต่งและแฟบของนวมโคนใบถั่ว
หรือนวมโคนใบย่อยของไมยราบ ท�าให้ใบกางออกและหุบลงได้ (ยงยุทธ, 2558)
ภายหลังจากการถ่ายเรณูบนยอดเกสรเพศเมียแล้ว หลอดเรณู (pollen tube) จะงอกออก
มาจากเรณู แล้วแทรกตัวมาตามก้านเกสรเพศเมีย จนมาบรรจบกับออวุลในรังไข่ แล้วเข้าสู่ขั้นตอนของ
การปฏิสนธิ (fertilization)
180 สัณฐานวิทยาของข้าว ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว