Page 177 -
P. 177
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(1) การล�าเลียงน�้า ศักย์น�้านอกรากสูงกว่าภายในมาก จึงมีเกรเดียนต์ศักย์น�้า (water
potential gradient) สูง เนื่องจากการคาย-ระเหยน�้า (evapo-transpiration) ประกอบกับมีเอ็กโซเดอร์มิส
เป็นสิ่งขวางกั้นการเคลื่อนที่ของน�้าด้านข้างในอะโพพลาสต์ น�้าจึงเคลื่อนที่จากรากสู่ใบได้ดี
(2) การล�าเลียงอากาศ ภายในรากมีสภาพคล้ายท่อกันอากาศรั่ว (gas tight pipe) เพื่อน�า
ออกซิเจนลงมาสู่ราก และส่ง CO และแก๊สอื่นกลับขึ้นไปยังส่วนเหนือดิน
2
ถ้าน�้าท่วมต้นข้าวส่วนมากหรือท่วมจนมิด ต้นข้าวที่ทนทานจะอยู่ได้ถ้าน�้าใส แสงผ่านได้
มีออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ละลายในน�้ามากพอ แต่ต้นข้าวจะหยุดการเติบโตชั่วคราว เพื่อสงวน
คาร์โบไฮเดรตไว้ประทังชีวิต และปรับระบบการใช้พลังงานในเซลล์ โดยเพิ่มกิจกรรมด้าน alcoholic
fermentation ให้มากขึ้นเพื่อใช้กระบวนการไกลโคไลซิส (glycolysis) ส�าหรับการสร้าง ATP และ
NADH ต่อไป แต่การปรับตัวดังกล่าวไม่อาจช่วยให้รากอยู่ได้นานนัก เพราะไม่มีการล�าเลียงออกซิเจน
2
จากส่วนเหนือดิน ในที่สุดรากจึงขาดออกซิเจนโดยสิ้นเชิง
2) เป็นทางเคลื่อนที่ของแก๊ส
การเคลื่อนที่ของแก๊สในพืชทางแอเรงคิมาเป็นดังนี้
(1) เคลื่อนที่ด้วยการแพร่ (diffusion) เนื่องจากการใช้ O ในการหายใจของราก ท�าให้ O 2
2
ลดลง O จากส่วนเหนือดินจึงแพร่ลงมาสู่ราก ส่วน CO จากการหายใจมีการละลายน�้าได้มาก (120 เท่า
2
2
o
ของ O ที่ 25 เซลเซียส pH 7)
2
(2) แก๊สเคลื่อนที่โดยการพา (convection) ถ้ามีเกรเดียนต์ความดัน
การรั่วของออกซิเจนจากราก เกิดที่ปลายรากมากกว่ารากส่วนที่แก่ ส�าหรับรากฝอยเดิมที่
แตกรากแขนง (ขนาดเล็กกว่า) มาก มีการรั่วมาก เนื่องจากสาเหตุ 3 ประการ คือ (1) มีพื้นที่ผิว/ปริมาตร
รากสูงขึ้น (2) รากที่แตกใหม่มีชั้นขวางกั้นการรั่วของ O น้อยกว่า และ (3) การแตกรากใหม่ ท�าให้มี
2
รอยร้าวที่เนื้อเยื่อชั้นผิวของรากเดิม เป็นช่องทางการรั่วของ O
2
การที่ออกซิเจนรั่วออกจากผิวรากไปสู่ดินได้นี้เอง รากข้าวจึงมีอ�านาจการออกซิไดส์ (oxidizing
power) และท�าให้ไรโซสะเฟียร์มีออกซิเจนและจุสินทรีย์ใช้ออกซิเจนอาศัยอยู่ได้ ดังนั้นในไรโซสะเฟียร์จึง
มีกิจกรรมไนทริฟิเคชัน และการออกซิไดส์เฟอรัสให้เป็นเฟอริกได้
3) การเคลื่อนย้ายธาตุอาหารภายในราก
การเคลื่อนย้ายธาตุอาหารในแนวรัศมีของรากพืชในดินน�้าขัง มีเส้นทางการผ่านของไอออน
2 เส้นทาง คือ
(1) วิถีอะโพพลาสต์ โดยผ่านผนังเซลล์ของแต่ละเซลล์และช่องระหว่างเซลล์ ซึ่งมีอยู่ใน
รากทั้งหมด และเมื่อถึงเซลล์ในชั้นเอนโดเดอร์มิส ธาตุอาหารต้องเข้าสู่กลไกการดูดโดยโปรตีนขนส่งที่เยื่อ
หุ้มเซลล์ของเอนโดเดอร์มิส ไม่สามารถใช้วิถีอะโพพลาสอีกต่อไป เนื่องจากมีแถบแคสแพเรียนขัดขวาง
การผ่านของน�้าและไอออนที่ผนังเซลล์ในชั้นเอนโดเดอร์มิส เมื่อไอออนของธาตุอาหารถูกดูดเข้าสู่เซลล์
ในชั้นเอนโดเดอร์มิสแล้วก็เข้าสู่วิถีซิมพลาสของมัดท่อล�าเลียงต่อไป
ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว สัณฐานวิทยาของข้าว 173