Page 97 -
P. 97
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
6.1.1) การขิด ขิด หมายถึง กรรมวิธีในการทอผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ
ขึ้นมา โดยวิธีการเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษในระหว่างการ ทอ เพื่อให้เกิดลวดลายที่โดดเด่นกว่าสีพื้น
วิธีการท้าคือ ใช้ไม้เขี่ยหรือสะกิด เพื่อช้อนเส้นด้ายยืนขึ้น แล้วสอดเส้นด้ายพุ่ง ไปตามแนวที่ถูกจัด
ช้อน จังหวะการสอดเส้นด้ายพุ่งนี่เอง ที่ท้าให้เกิดเป็นลวดลายต่าง ๆ
6.1.2) การจก เป็นเทคนิคการทอผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ โดยเพิ่มเส้นด้ายพุ่ง
พิเศษสอดขึ้นลง วิธีการคือ ใช้ขนเม่น ไม้ หรือนิ้ว สอดเส้นด้ายยืนขึ้น แล้วสอดเส้นด้ายพุ่งพิเศษเข้าไป
ซึ่งจะท้าให้เกิดเป็นลวดลายเป็นช่วง ๆ สามารถท้าสลับสีลวดลายได้หลากสี ซึ่งจะแตกต่างจากการขิด
ตรงที่ขิดที่เป็นการใช้เส้นด้ายพุ่งพิเศษเพียงสี เดียว การทอผ้าวิธีจกใช้เวลานานมากมักท้า เป็นผืนผ้า
หน้าแคบใช้ต่อกับตัวซิ่น เรียกว่า “ซิ่นตีนจก”
6.1.3) การทอมัดหมี่ ผ้ามัดหมี่มีกรรมวิธีการทอผ้าที่ใช้เทคนิคการมัดและการ
ย้อม เริ่มจากน้าเส้นด้ายหรือไหมมาย้อมสีแล้วมัดบริเวณที่ ต้องการเก็บไว้ เมื่อน้าไปย้อมสีอื่น จะได้ไม่
ติดสี เพียงซึมเข้ามาบางส่วน โดยย้อมเรียงล้าดับจากสีอ่อนไปหาสีเข้มจนครบ ตามลวดลายที่ก้าหนด
หลังจากนั้นจึงน้าด้ายกรอเข้าหลอดตามล้าดับ แล้วน้าไปทอจะเกิดลวดลายบนผืนผ้าที่มีลักษณะคลาด
เคลื่อนเหลื่อมล้้า อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมัดหมี่ การทอผ้าชนิดนี้จึงต้องอาศัยความช้านาญใน
การมัดย้อมและทอเป็น อย่างมาก ผ้ามัดหมี่มีอยู่หลายชนิด ได้แก่ มัดหมี่เส้นพุ่ง มัดหมี่เส้นยืน มัดหมี่
เส้นยืนและเส้นพุ่ง
7) โรงงานปั่นด้าย
โรงงานปั่นด้ายในปัจจุบันที่มีการรับซื้อรังไหมอีรี่ไปท้าการปั่นเป็นเส้นด้ายนั้นได้แก่
บริษัท สปันซิลค์ เวิลด์ จ้ากัด และบริษัท ก้องเกียรติเท็กซ์ไทล์ จ้ากัด
7.1) ด้านวัตถุดิบ
วัตถุดิบของโรงงานคือรังไหมแบบไม่มีดักแด้ โดยทางโรงงานจะรับซื้อเฉพาะรังไหม
แบบไม่มีดักแด้เท่านั้น ในการรับซื้อโรงงานฯ จะรับซื้อรังไหมจากเกษตรกรตลอดทั้งปี โดยมีการให้
ราคาตามเกรดของรังไหม ซึ่งมีการแบ่งรังไหมออกเป็น 3 เกรด ตามลักษณะคือ ขาว สะอาด รังมี
ขนาดใหญ่ เมื่อเกษตรกรน้ารังไหมมาจ้าหน่าย ทางโรงงานจะท้าการคัดแยกเกรดของรังไหม และให้
ราคาตามเกรดของรังไหม โดยปัจจุบันมีราคาประมาณ 250-300 บาทต่อกิโลกรัม โดยรังไหมเกรด A
ราคารับซื้อ 300 บาท เกรด B ราคา 270 บาท และเกรด C ราคา 250 บาท
ปริมาณรังไหมที่โรงงานรับซื้อตลอดทั้งปีประมาณ 1,000 กิโลกรัม โดยมีปริมาณมาก
น้อยแตกต่างกันไปในแต่ละเดือน ในบางช่วงที่มีปริมาณไหมมากสามารถซื้อได้ประมาณ 1,000
กิโลกรัม แต่บางช่วงมีปริมาณเพียง 100-200 กิโลกรัม โดยปริมาณรังไหมที่บริษัทฯ ต้องการใช้ในการ
ผลิตเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้ามีประมาณ 10 ตันต่อปี แสดงให้เห็นว่ายังมีปริมาณอุป
สงค์ส่วนเกินอยู่มาก
78