Page 101 -
P. 101
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1.2) โรงงานทอผ้า
ปัจจุบันโรงงานทอผ้าที่น้าเอาไหมอีรี่ไปท้าการทอในเชิงพาณิชย์ได้แก่ บริษัทกรีน
วิลล์ ในการทอผ้าไหมในเชิงพาณิชย์ของบริษัทจะน้าเอาไหมอีรี่ไปทอผสมกับไหมหม่อน เพื่อให้เกิด
ลวดลายเฉพาะตัว และเป็นการน้าเอาลักษณะเด่นของไหมอีรี่คือความนุ่ม และความมันเงาของไหม
หม่อน
1.2.1) ด้านวัตถุดิบ
วัตถุดิบของโรงงานคือเส้นด้ายไหมอีรี่และเส้นด้ายไหมหม่อน โดยทางโรงงานจะ
ซื้อเส้นด้ายจากโรงงานปั่นด้าย โดยปริมาณเส้นด้ายไหมอีรี่ที่สั่งซื้อประมาณ 100 กิโลกรัมเส้นด้าย แต่
พบว่าในบางครั้งมีปัญหาเส้นด้ายไหมอีรี่ไม่มีจ้าหน่าย ท้าให้บริษัทต้องมีการสั่งเส้นด้ายมาสต็อกไว้
ประมาณ 500 กิโลกรัม
1.2.2) ด้านการผลิต
การทอผ้าไหมนั้นจะเป็นการทอโดยใช้เครื่องจักร โดยในกระบวนการผลิตจะเป็น
การผลิตตามค้าสั่งซื้อโดยทางบริษัทฯจะมีการตกลงและพูดคุยกับลูกค้าถึงลักษณะ และลวดลายของ
ผ้าก่อนที่จะทอผ้า เนื่องจากสินค้าสิ่งทอเป็นสินค้าที่มีการปรับเปลี่ยนตามแฟชั่นตลอดเวลา ดังนั้นจึง
ต้องมีการออกแบบลวดลาย สีสันของลายผ้าทุกปี โดยระยะเวลาการออกแบบและการทอจะเป็นไป
ตามการออกคอลเลคชั่นใหม่ของบริษัทลูกค้า ในการทอผ้าไหมของบริษัทนั้นเป็นการทอตามค้าสั่งซื้อ
ดังนั้นในแต่ละปีจะมีการทอเพื่อส่งให้ลูกค้าประมาณปีละ 2 ครั้ง
เมื่อมีการออกแบบลวดลาย และการตกลงสั่งซื้อแล้ว บริษัทใช้ระยะเวลา
ประมาณ 75 วันนับตั้งแต่วันที่รับค้าสั่งซื้อในการผลิตสินค้าให้ได้ตามที่ลูกค้าสั่งซื้อ โดยแบ่งเป็นการสั่ง
เส้นด้ายใช้เวลาประมาณ 30 วัน การทอผ้าใช้เวลาประมาณ 30 วัน และการน้าผ้าไปต้มเพื่อลอกกาว
ใช้เวลาประมาณ 15 วัน
ในการผลิตเส้นด้าย 120-150 กิโลกรัมเส้นด้ายสามารถทอผ้าได้ประมาณ 1,800-
2,000 หลา โดยแต่ละครั้งจะใช้วัตถุดิบประมาณ 300-500 กิโลกรัม โดยต้นทุนการผลิตผ้า 1 หลาคิด
เป็นต้นทุนเส้นด้ายไหมอีรี่ ประมาณ 37 บาท ต้นทุนด้ายไหมหม่อนประมาณ 137 บาท ต้นทุน
ค่าแรงงาน 70 บาท
1.2.3) ด้านการตลาด
ลูกค้าของบริษัทนั้นพบว่า บริษัทจัดจ้าหน่ายให้แก่ โรงงานตัดเย็บทั้งในประเทศ
และต่างประเทศ โดยมีสัดส่วนเป็นลูกค้าในประเทศประมาณร้อยละ 10 และลูกค้าต่างประเทศร้อย
ละ 90
82