Page 92 -
P. 92

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว









                                        การเลี้ยงไหมจะท้าการเลี้ยงเป็นรุ่น โดยจะเลี้ยงรุ่นละประมาณ 21 วัน เกษตรกร
                       จะท้าการเลี้ยงประมาณ 4-5 รุ่นต่อปี เนื่องจากไหมอีรี่ไม่ทนต่อสภาพอากาศร้อน ในช่วงหน้าร้อนการ

                       เลี้ยงไหมจะมีอัตราการรอดต่้ามาก ดังนั้นเกษตรกรจึงไม่นิยมเลี้ยงไหมอีรี่ในช่วงหน้าร้อน อีกทั้ง
                       อาหารของไหมคือใบมันส้าปะหลัง หรือใบละหุ่ง ดังนั้นในช่วงเวลาที่ไม่มีการปลูกมันส้าปะหลังจะท้า

                       ให้ไม่มีอาหารส้าหรับไหมจึงไม่มีการเลี้ยงไหมอีรี่ในช่วงดังกล่าว รวมถึงสาเหตุจากการที่เกษตรกรไม่
                       สามารถเลี้ยงได้เนื่องจากมีงานอื่นๆ ต้องท้า

                                        การเลี้ยงไหมอีรี่เพื่อให้ได้เส้นใยนั้นจะต้องมีกระบวนการจัดการที่ดีเพื่อให้ได้เส้น

                       ไหมที่มีคุณภาพ นอกจากนั้นในการเลี้ยงไหมอีรี่ผลผลิตจ้านวน 10 กิโลกรัมจะเป็นเส้นไหม 1 กิโลกรัม
                       และเป็นดักแด้จ้านวน 9  กิโลกรัม ดังนั้นการจัดการดักแด้ก็ถือเป็นปัจจัยส้าคัญในการจัดการโซ่

                       อุปทานไหมอีรี่ ในปัจจุบันยังไม่มีการน้าดักแด้ไปใช้แปรรูปในทางธุรกิจ นอกเหนือจากการน้าไป

                       รับประทาน ท้าให้เป็นอุปสรรคในการขยายตัวของการเลี้ยงไหมอีรี่
                                        การเลี้ยงไหมอีรี่เพื่อน้ารังไปจ้าหน่ายนั้นจะมีข้อแตกต่างจากไหมหม่อน เนื่องจาก

                       ไหมอีรี่เป็นไหมชนิดเส้นใยสั้น ดังนั้นในการน้าใยไหมเพื่อไปเป็นเส้นด้ายนั้นจะต้องมีการตัดรังเพื่อน้า
                       ดักแด้ออกจากรังไหมโดยการใช้แรงงานตัดรัง แตกต่างจากไหมหม่อนที่ท้าการสาวไหม ในการตัดรัง

                       เพื่อน้าดักแด้ออกจากรังนั้นต้องใช้แรงงานเป็นหลัก ในการตัดรังนั้นเกษตรกรจะต้องตัดไม่ให้ถูกตัว
                       ดักแด้ เพราะอาจท้าให้รังไหมสกปรก ท้าให้ราคารังไหมลดลงจากเดิมได้

                                        การเลี้ยงไหมอีรี่นั้นขึ้นกับสภาพอากาศ และสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ท้าให้มี

                       ความเสี่ยงที่หนอนไหมจะตายมากขึ้น เช่นในสภาวะอากาศที่ร้อน หรือบริเวณที่เลี้ยงหนอนมีการฉีด
                       ยาฆ่าแมลง ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อหนอนไหมอย่างมาก

                                  4) ด้านการตลาด

                                     4.1) ราคา
                                     ราคาที่เกษตรกรจ้าหน่ายได้ขึ้นอยู่กับเกรดของรังไหม โดยมีราคาประมาณ 250-300

                       บาท ตามเกรดของรังไหม อย่างไรก็ตามพบว่าเกษตรกรมักจะไม่มีการคัดแยกรังไหมตามเกรด แต่จะ
                       ท้าการคละสินค้ากันไปท้าให้ราคาที่ได้รับลดลง

                                     โดยราคาที่โรงงานรับซื้อจะแยกเป็นเกรดได้ดังนี้
                                     เกรด A ขนาดรังใหญ่ สีขาวสะอาด ราคา 300 บาทต่อกิโลกรัมรังไหม
                                     เกรด B ขนาดรังใหญ่ สีไม่ขาวสะอาดเท่าเกรด A ราคา 270 บาทต่อกิโลกรัมรังไหม

                                     เกรด C  ขนาดรังเล็ก สีไม่ขาวสะอาด มีสิ่งสกปรกเช่นใบไม้เจือปน ราคา 250 บาทต่อ
                       กิโลกรัมรังไหม
                                     ส่วนดักแด้นั้นสามารถขายได้ 100-150 บาทต่อกิโลกรัม





                                                               73
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97