Page 94 -
P. 94
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
-800 กรัม เส้นใยไหมอีรี่เป็นเส้นใยสั้น จึงมีกระบวนการปั่นเส้นด้ายแตกต่างจากไหมหม่อน ตามภาพ
ที่ 3.3 ดังนี้
1) การฟอกกาวไหม
เป็นการขจัดกาวเซริฟิน (Serisin) และสิ่งสกปรกออกจากเส้นไหมเพื่อให้ได้
เส้นใยที่สะอาดสามารถดึงแยกเส้นใยได้ง่าย โดยการฟอกกาวรังไหมอีรี่ 2 กิโลกรัมต้องใช้ผงซักฟอก
100 กรัม โซดาแอช 10 ช้อนโต๊ะ สบู่เหลว 10 ช้อนโต๊ะ น้้ายาปรับผ้านุ่ม 1 ถุง
2) การแผ่ใยไหม
เป็นการกระจายเส้นใยไหมให้ฟูไม่กอดเป็นปมท้าให้ดึงเส้นไหมออก ปั่นได้ง่าย
ขึ้น มี 2 วิธีคือ
2.1) การตีแผ่รังไหม เป็นแผ่นๆละ 1 รัง
วางรังไหมบนฝ่ามือ โดยให้มือและรังไหมแช่อยู่ในน้้า ตีรังไหมเป็นแผ่นกลม
2.2) การยีฟูเส้นไหม น้าใยไหมที่ตากแห้งแล้ว ดึงเส้นใยไหมให้กระจายตัว
ไม่ให้เป็นปมหรือใช้ไม้เหลาให้เรียวตีรังไหมบนเบาะให้ฟู
3) การปั่นเส้นด้ายไหมอีรี่
ใยไหมจะถูกดึงออกจากกลุ่มเส้นใย และน้าเข้าสู่เครื่องปั่นด้าย โดยเครื่องปั่น
ด้ายจ้าน้าใยมารวมกันเป็นเส้นด้ายที่มีความเรียบและสม่้าเสมอ โดย 1 กิโลกรัมใยไหมจะผลิตด้านได้
ประมาณ 700 กรัม สามารถท้าได้ 2 วิธีคือ
3.1) การปั่นแบบแห้ง น้าแผ่นรังไหมหรือรังไหมที่ยีฟูมาปั่นด้วยเครื่องปั่น
ด้าย MC (ภาพที่ 3.3) การปั่นแบบนี้ถ้าผู้ปั่นมีความช้านาญก็จะท้าให้เส้นด้ายมีขนาดสม่้าเสมอ
3.2) การปั่นแบบเปียก น้ารังไหมที่ต้มลอกกาว มาปั่นขณะเปียก คล้ายกับ
การปั่นไหมหม่อน การปั่นแบบนี้จะท้าให้เส้นด้ายไม่สม่้าเสมอ เป็นตะปุ่มตะปั่ม
75