Page 87 -
P. 87
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ปริมาณการเพาะไข่ของศูนย์ฯ นั้นพบว่าสามารถผลิตไข่ได้ประมาณ 1 กิโลกรัม
ต่อเดือน แต่ในช่วงหน้าร้อนจะผลิตลดลงมาเหลือประมาณ 100-200 กรัม เนื่องจากการผลิตไข่จะ
เป็นการผลิตตามความต้องการของเกษตรกร ดังนั้นในช่วงหน้าร้อนความต้องการเลี้ยงของเกษตรกร
ลดลงอย่างมาก ท้าให้ปริมาณการผลิตไข่จึงลดลง
ในด้านต้นทุนในการเพาะไข่นั้นพบว่ามีต้นทุนต่อไข่ 100 บาทต่อ 10 กรัม (10
กรัมมีไข่ประมาณ 5,000 ฟอง)
การขนส่งไข่ไหมนั้น เมื่อเกษตรกรได้แจ้งความจ้านงไปยังศูนย์ฯ ทางศูนย์ฯจะ
จัดส่งไข่ไปให้เกษตรกรทางไปรษณีย์ โดยจะจัดส่งให้ประมาณ 10-30 กรัมต่อราย
2.2) กรมหม่อนไหม
ปัจจุบันทางกรมหม่อนไหมไม่ได้มีนโยบายสนับสนุนการเลี้ยงไหมอีรี่อย่างจริงจัง
แต่มีการเพาะไข่ไหมอีรี่เพื่อแจกจ่ายให้แก่เกษตรกร โดยมีการผลิตอยู่ที่กรมหม่อนไหมจังหวัดตาก
อุดรธานี และร้อยเอ็ด มีก้าลังการผลิตประมาณ 50 กก. / ปี และท้าการแจกจ่ายให้เกษตรกรผู้เลี้ยง
ไหมอีรี่ทั่วประเทศ ในการแจกไข่ไหมให้เกษตรกร เกษตรกรต้องแจ้งความต้องการล่วงหน้าก่อนหนึ่งปี
การส่งไข่ไหมให้เกษตรกรจะจัดส่งโดยทางไปรษณีย์เช่นเดียวกัน ซึ่งการขนส่งไข่ไหมทางไปรษณีย์
พบว่ามีความเสี่ยงที่ท้าให้ไข่ได้รับความกระทบกระเทือน ส่งผลให้อัตราการฟักเป็นตัวมีน้อยลง ใน
ด้านต้นทุนการผลิตพบว่ามีต้นทุนประมาณ 200-300 บาทต่อ ไข่ 25 กรัม
2.3) เกษตรกรเพาะพันธุ์เอง
ในการเพาะไข่ของนั้นเกษตรกรจะคัดพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ที่สมบูรณ์ มาท้าการผสม
พันธุ์เพื่อให้ได้ไข่ไหม ในการส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะพันธุ์ไข่เองท้าให้เกษตรกรมีวัตถุดิบส้าหรับการ
เลี้ยงไหมในรุ่นต่อไป ไม่ต้องขอไข่จากทางศูนย์ฯ แต่การเพาะไข่เองพบว่าในระยะยาว ไข่ที่ได้จะมี
คุณภาพไม่ดีนัก เนื่องจากเกษตรกรไม่ได้น้าหนอนจากแหล่งอื่นมาผสมพันธุ์กัน ท้าให้หนอนไหมที่ได้
จะมีอ่อนแอ ดังนั้นถ้าต้องการให้ไหมมีคุณภาพดีการเพาะไข่เองของเกษตรกรจะสามารถเพาะได้เอง
ประมาณ 6 รุ่น หลังจากนั้นต้องรับไข่มาท้าการเพาะพันธุ์ใหม่
3) ด้านการผลิต
เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมอีรี่จะท้าการเลี้ยงไหมเป็นอาชีพเสริม โดยเกษตรกรมักจะมีไร่
มันส้าปะหลังเป็นของตนเอง เนื่องจากไหมอีรี่อาจตายได้หากใบมันที่น้ามาเลี้ยงมีสารเคมี ดังนั้น
เกษตรกรจึงจะน้าใบมันส้าปะหลังจากไร่ที่ตนมั่นใจว่าไม่มีสารเคมี ในการเลี้ยงจะเลี้ยงเป็นรุ่นๆ โดยรุ่น
หนึ่งจะเลี้ยงโดยใช้ไข่ประมาณ 10-30 กรัม ตามขนาดความสามารถของผู้เลี้ยง เนื่องจากเกษตรกรผู้
เลี้ยงไหมมักจะมีอาชีพหลักอื่นๆ ดังนั้นจึงมีขีดจ้ากัดในการเลี้ยง นั่นคือหากเลี้ยงจ้านวนมากเกินไป
อาจดูแลไม่ทั่วถึงท้าให้หนอนตายได้
68