Page 86 -
P. 86

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว









                               นอกจากไหมอีรี่แล้ว ยังมีอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องจากการผลิตไหมอีรี่คือ ดักแด้ เนื่องจากใน
                       การผลิตไหมอีรี่นั้น จะได้ผลผลิต 2 ชนิดคือเส้นใยและดักแด้ ดังนั้นในส่วนของดักแด้เกษตรกร

                       จ้าหน่ายให้แก่ผู้บริโภคดักแด้ นอกจากนี้ยังพบว่าในปัจจุบันมีการจ้าหน่ายดักแด้หรือตัวหนอนให้แก่ผู้
                       เลี้ยงถั่งเช้าเพื่อน้าไปเป็นอาหารในการเลี้ยงถั่งเช้ามากขึ้น

                                  3.2.1 อุตสาหกรรมต้นน้้า
                                     1) อุตสาหกรรมเส้นใยธรรมชาติ (เลี้ยงไหม)

                                     ไหมอีรี่เป็นเส้นใยประเภทเส้นใยธรรมชาติ ในปัจจุบันมีเกษตรกรรวมตัวกันเป็นกลุ่ม

                       เกษตรกรเพื่อเลี้ยงไหมอีรี่ โดยได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม
                       มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปัจจุบันมีกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมอีรี่จ้านวน 44  กลุ่ม มีเกษตรกรผู้เลี้ยง

                       ไหมอีรี่ในประเทศประมาณ 600  ราย มีการเลี้ยงอยู่ในภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ

                       ภาคเหนือเป็นส่วนมาก อาทิเช่น จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ล้าปาง เป็นต้น จากข้อมูลของศูนย์ความ
                       เป็นเลิศทางวิชาการด้านไหมพบว่ามีแนวโน้มการเลี้ยงไหมอีรี่ของเกษตรกรลดลง เนื่องจากประสบ

                       ปัญหาในการเลี้ยง เช่นหนอนไหมตายเนื่องจากสภาพอากาศ หรือติดโรค
                                     เกษตรกรที่ท้าการเลี้ยงไหมอีรี่มักเป็นเกษตรกรที่มีอาชีพหลัก เช่นปลูกมันส้าปะหลัง

                       ท้านา และท้าการเลี้ยงไหมอีรี่เป็นอาชีพเสริม เนื่องจากได้รับการแนะน้าหรือสนับสนุนจากภาครัฐ
                       ดังนั้นจึงเป็นการเลี้ยงจ้านวนไม่มาก เลี้ยงในพื้นที่บริเวณบ้าน และใช้แรงงานในครอบครัวเป็นหลัก

                                                   2) ด้านวัตถุดิบ

                                     วัตถุดิบหลักของไหมอีรี่ คือ ไข่ไหมอีรี่ การผลิตไข่ไหมอีรี่ จะด้าเนินการโดยการน้า
                       ผีเสื้อที่ออกจากดักแด้มาเกาะนิ่งอยู่กับที่เพื่อคลี่ปีกให้แห้ง ประมาณ 1-2 ชั่วโมง จับคู่ผีเสื้อตัวผู้และตัว

                       เมีย โดยผีเสื้อตัวเมียมีส่วนท้องใหญ่กว่าตัวผู้ เมื่อผีเสื้อจับคู่แล้วน้าไปเกาะบนแท่งไม้ เช่น ตะเกียบที่

                       ห้อยแขวนอยู่ในตู้ผสมพันธุ์ ผีเสื้อจะวางไข่บนแท่งไม้ติดกันเป็นแพสีขาว และจะวางไข่ทุกวันต่อไป 3
                       วัน ผีเสื้อไหมอีรี่ไม่กินอาหารเมื่อผีเสื้อผสมพันธุ์และวางไข่แล้ว เก็บไข่ที่ติดอยู่ที่แท่งไม้ ไข่ไหมอีรี่

                       ค่อนข้างแข็งแรงสามารถใช้มือแกะรูดออกจาก แท่งไม้ได้ ประมาณ 7 วันไข่จะเริ่มมีสีเทาด้า และเริ่ม
                       ฟักออกเป็นตัวหนอนวัย 1  หากอากาศแห้งควรหล่อน้้าไข่ไหม เพื่อให้เปลือกไข่อ่อนตัว ไหมจะได้ฟัก

                       ออกมาได้ง่าย โดยแม่ผีเสื้อ 1 ตัว วางไข่ได้ประมาณ 300 ฟอง และไข่ไหม 1  กรัม มีไข่จ้านวน
                       ประมาณ 500 ฟอง ในปัจจุบันมีหน่วยงานที่ผลิตไข่ไหมอีรี่แจกจ่ายเกษตรกรมาจาก 3 แหล่งคือ

                                        2.1) ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

                                        กระบวนการเพาะไข่ การเพาะไข่ของทางศูนย์จะท้าการเพาะไข่ไหมอีรี่ตลอดทั้งปี
                       โดยใน 1 เดือน สามารถเพาะไข่ไหมอีรี่ได้จ้านวน 4 รุ่น ในแต่ละรุ่นใช้เวลาเพาะไข่ประมาณ 40 วัน

                       โดย ผีเสื้อ 1 คู่ได้ไข่จ้านวน 300 ฟอง





                                                               67
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91