Page 120 -
P. 120

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว









                       3.5 นโยบายสนับสนุนจากรัฐบาลในอุตสาหกรรมไหมอีรี่

                               จากปัญหาราคามันส้าปะหลังตกต่้า ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกมันส้าปะหลังทั่ว

                       ประเทศ รัฐบาลจึงได้ริเริ่มโครงการสร้างรายได้เสริมของเกษตรกรผู้ปลูกมันส้าปะหลัง โดยสนับสนุน
                       ให้เกิดโครงการวิจัย ศึกษาการเลี้ยงไหมอีรี่ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาไหมอีรี่ให้เป็นอาชีพเสริมของ

                       เกษตรกรชาวไร่มันส้าปะหลังได้ ประเทศไทยเริ่มเลี้ยงไหมอีรี่ตั้งแต่ปี 2517 โดยกรมวิชาการเกษตร
                       กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งได้ศึกษาวิจัยและรักษาพันธุ์ไว้ที่สถานีวิจัยพลิ้ว จ.จันทบุรี ต่อมา

                       โครงการวิจัยเกษตรที่สูงเพื่อหาอาชีพเสริมให้ชาวเขาทดแทนการปลูกฝิ่น ได้น้าไหมอีรี่ขึ้นไปเลี้ยงบน
                       ดอยอ่างขางและดอยปุย จ.เชียงใหม่ แต่เลี้ยงไม่ได้ตลอดปี เนื่องจากอากาศที่หนาวเย็นจัด ในปี 2533

                       โดยการสนับสนุนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีการส่งเสริมการเลี้ยงไหมอีรี่ให้กับเกษตรกรใน

                       ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งปลูกมันส้าปะหลังเป็นจ้านวนมาก เกษตรกรจึงสามารถน้าใบมาเลี้ยงไหม
                       แทนการทิ้งไปเฉยๆ และการเด็ดใบออกในปริมาณที่พอเหมาะ ยังช่วยให้ผลิตหัวมันได้มากขึ้นด้วย

                       (พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์, 2559)

                               ต่อมา ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ท้าการศึกษา
                       และวิจัยเพื่อพัฒนาสายพันธุ์ไหมให้มีคุณภาพมากขึ้น องค์ความรู้ใหม่ๆ ที่ได้จากผลงานวิจัย และ

                       เทคโนโลยีที่ทันสมัยจะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมการเลี้ยงไหมให้เจริญก้าวหน้า  เพิ่มศักยภาพการผลิต
                       ให้มีประสิทธิภาพและได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า โดยศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม ได้มีการ

                       ศึกษาวิจัยในด้านต่างๆ เช่น (ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม, 2559)
                                  1) งานวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์ ผลงานวิจัยด้านการปรับปรุงสายพันธุ์และคัดเลือก

                       สายพันธุ์ไหมหม่อน ท้าให้ได้สายพันธุ์ไหมที่มีคุณภาพดี เช่น พันธุ์เหลืองพิรุณ ได้สายพันธุ์ไหมหม่อนที่
                       แข็งแรงทนทานต่อโรค
                                  2) พัฒนากรรมวิธีการเลี้ยงไหมและอุปกรณ์การเลี้ยงไหม พัฒนากรรมวิธีการเลี้ยงไหม

                       หม่อนและไหมอีรี่อย่างมีประสิทธิภาพคุ้มต่อการลงทุน มีงานวิจัยด้านพืชอาหารของไหม เช่น การ
                       ปลูก การดูแลและคัดเลือกสายพันธุ์หม่อนที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ยังได้พัฒนาอุปกรณ์และเครื่องมือ

                       ต่างๆ ที่ใช้ในการเลี้ยงไหมอีกด้วย

                                  3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากไหมและการอนุรักษ์ การพัฒนาเส้นด้ายไหมอีรี่ผสม
                       เส้นใยสั้นชนิดอื่น การตกแต่งส้าเร็จผืนผ้า การศึกษาคุณสมบัติการทนยับของผ้าไหม การย้อมสีเส้นใย

                       ไหม การก้าจัดสีย้อมและโลหะหนักที่ใช้ในการผลิตผ้าไหมโดยวิธีทางชีวภาพ รวมถึงกระบวนการย้อม

                       สีธรรมชาติ เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ green products ที่เป็นมิตรกับสภาพแวดล้อม
                                  4) การใช้ประโยชน์จากไหมอย่างครบวงจร เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม มี

                       ผลงานวิจัยด้านการใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทันสมัยเพื่อใช้ประโยชน์จากองค์ประกอบต่างๆ ของไหม
                       อย่างครบวงจรและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง เช่นกรรมวิธีการสกัดสารต่างๆ จากไหมเพื่อน้ามาใช้

                       ประโยชน์
                                                              101
   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125