Page 124 -
P. 124

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว











                                                             บทที่ 4


                                      การประเมินประสิทธิภาพการจัดการโซ่อุปทานไหมอีรี่


                               ในบทนี้เป็นการประเมินประสิทธิภาพการจัดการห่วงโซ่อุปทานของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ใน

                       โซ่อุปทานไหมอีรี่ตั้งแต่ต้นน้้าถึงกลางน้้า โดยใช้แบบจ้าลอง Supply Chain Operation Reference
                       (SCOR) และเป็นการสรุปภาพรวมของอุตสาหกรรมไหมอีรี่ด้วยแผนผังโมเดลธุรกิจ (Business

                       model canvas) เพื่อให้เข้าใจสถานภาพปัจจุบันของอุตสาหกรรมไหมอีรี่

                       4.1 การวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของโซ่อุปทานไหมอีรี่ในภาพรวม

                               เมื่อพิจารณาตั้งแต่ต้นน้้าจนถึงกลางน้้าของโซ่อุปทานไหมอีรี่ พบว่าในอุตสาหกรรมกลางน้้า

                       คือ อุตสาหกรรมทอผ้านั้นประกอบด้วยผู้ผลิตที่เป็นโรงงาน และผู้ทอด้วยมือ ในกรณีโรงงานทอผ้านั้น

                       เป็นการผลิตตามค้าสั่งซื้อซึ่งปริมาณอุปสงค์จากผู้บริโภคนี้เป็นตัวกระตุ้นการเติบโตของอุตสาหกรรม
                       ไหมอีรี่ ในปัจจุบันลูกค้าผู้บริโภคผ้าทอจากไหมอีรี่ได้แก่ โรงงานตัดเย็บ บริษัทผลิตเสื้อผ้าและชุด

                       เครื่องนอน ในส่วนโรงงานทอผ้าเมื่อรับค้าสั่งซื้อมาจึงท้าการสั่งซื้อวัตถุดิบคือไหมอีรี่และวัตถุดิบอื่นๆ
                       เพื่อท้าการผลิต ค้าสั่งซื้อของโรงงานทอผ้าจะส่งต่อไปยังผู้ผลิตเส้นด้ายซึ่งมีรูปแบบการผลิตแบบผลิต

                       เพื่อรอจ้าหน่าย (Make to stock) และผลิตตามค้าสั่งซื้อ (Make to Order) ซึ่งในจุดนี้พบว่ามีความ

                       ยืดหยุ่นค่อนข้างต่้าต่อค้าสั่งซื้อของโรงงานทอผ้า นั่นคือโรงงานทอผ้าจะต้องเลือกเส้นด้ายไหมอีรี่จาก
                       ในสต็อกของผู้ผลิตเส้นด้ายท้าให้ไม่สามารถเลือกขนาดของเส้นด้ายให้ตรงตามที่ตนต้องการได้ หรือ

                       ถึงแม้จะผลิตตามค้าสั่งซื้อก็พบว่ามีปริมาณวัตถุดิบคือรังไหมในสต็อกจ้านวนจ้ากัด ท้าให้มีปริมาณ
                       อุปทานเส้นด้ายไม่เพียงพอต่อความต้องการหรือไม่ยืดหยุ่นต่อความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น

                               ในกรณีของผู้ทอผ้าด้วยมือ พบว่าจะมีความแตกต่างจากโรงงานทอผ้าที่ส่วนมากเป็นการทอ

                       เพื่อจ้าหน่ายมากกว่าทอตามค้าสั่งซื้อ ดังนั้นเมื่อวางแผนจะท้าการผลิตเพื่อน้าไปจ้าหน่ายจึงจะท้าการ
                       สั่งซื้อเส้นด้ายจากทั้งโรงงานปั่นด้ายและจากเกษตรกรปั่นด้าย ในกรณีนี้ผู้ทอผ้าจะเลือกเส้นด้ายจาก

                       ในสต็อกของโรงงานปั่นด้ายและเกษตรกรผู้ปั่นด้าย ซึ่งในจุดนี้พบปัญหาในเรื่องปริมาณเส้นด้ายที่ผลิต
                       โดยเกษตรกรมีจ้านวนไม่เพียงพอต่อความต้องการ รวมถึงปัญหาเส้นด้ายที่ไม่ได้คุณภาพหรือมี

                       คุณภาพแตกต่างกัน ท้าให้เป็นข้อจ้ากัดส้าหรับผู้ทอผ้าด้วยมือ เนื่องจากวัตถุดิบคือเส้นด้ายมีขนาด

                       แตกต่างกัน การทอผ้าแต่ละผืนจึงมีคุณภาพแตกต่างกันไปด้วย ในขณะที่การสั่งซื้อเส้นด้ายโรงงานใน
                       บางครั้งมีปัญหาขาดแคลนเช่นกัน
   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129