Page 122 -
P. 122
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในแผนยุทธศาสตร์ที่ 5 เป็นการศึกษาพัฒนาเส้นใยธรรมชาติชนิดอื่น โดยมีเป้าหมายที่
จะพัฒนาองค์ความรู้ด้านกระบวนการผลิต การแปรรูป การใช้ประโยชน์จากไหมชนิดที่กินพืชอื่นที่
มิใช่ใบหม่อนเป็นอาหารและเส้นใยอื่นๆ ที่มิใช่ไหมด้วยการพัฒนาเป็นสินค้า/ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ผสมหรือ
อาจจะไม่ผสมกับไหมแท้ ท้าให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการใช้เส้นใยธรรมชาติที่มีคุณสมบัติที่แตกต่าง
หลากหลาย และตรงกับความต้องการของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ตลอดจนยังเป็นแนวทางในการสร้างอาชีพ
ใหม่ที่แตกต่างจากอาชีพเดิม โดยมีการก้าหนดให้ วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการใช้
ประโยชน์จากไหมอีรี่ ประกอบด้วย
1) วิจัยและพัฒนาการปรับปรุงพันธุ์ไหมอีรี่
2) วิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตรังไหม/เส้นไหมอีรี่ที่เหมาะสมกับท้องถิ่นหรือ
สภาพแวดล้อม
3) วิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตผ้าไหมและการใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ จากไหมอีรี่
และในงานวิจัยได้ก้าหนดให้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการที่เหมาะสมและต้นทุนการ
ผลิตไข่ไหมอีรี่พัฒนาการผลิตไข่ไหมอีรี่ให้ได้มาตรฐานและเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรม ซึ่งไข่ไหมที่ผลิตได้
จะมีเปอร์เซ็นต์การฟักออกสูง และทราบถึงต้นทุนการเลี้ยงไหมอี่รี่ในภาคเกษตรกร สามารถถ่ายทอด
องค์ความรู้ในการผลิตไข่ไหมอีรี่ที่มีคุณภาพและมาตรฐานให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งการ
เพาะเลี้ยงไหมอีรี่อย่างครบวงจรชีพจักรในระดับชุมชน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากงานวิจัย คือได้พัฒนาระบบการผลิตไข่ไหมอีรี่ที่มีคุณภาพ
และได้มาตรฐาน คาดว่าจะสามารถผลิตไข่ไหมได้ประมาณ 750 แผ่นหรือกล่องต่อปี เพื่อให้เกษตรกร
100 ครัวเรือนในพื้นที่ส่งเสริมมีการเลี้ยงไหมอีรี่ครัวเรือนละ 1 – 2 แผ่นหรือกล่อง (20,000 ฟอง/
แผ่น) จ้านวน 4 – 6 รุ่น ซึ่งจะส่งผลให้ได้กลุ่มหมู่บ้านน้าร่องที่เลี้ยงไหมอีรี่ และสามารถผลิตรังไหม
ประมาณ 7,500 กก. ต่อปี เพื่อป้อนสู่อุตสาหกรรมในครัวเรือนหรืออุตสาหกรรมขนาดเล็ก และ
เกษตรกรมีรายได้เสริมจากการเลี้ยงไหมอีรี่ขายรังประมาณ 7,500 บาท/ครัวเรือน/ปี และได้ผลิตไข่
ไหมอีรี่ที่มีคุณภาพ ซึ่งไข่ไหมที่ผลิตได้จะมีเปอร์เซ็นต์การฟักออกสูง ไม่ต่้ากว่าร้อยละ 85 สามารถฟัก
ออกได้พร้อมกันและตรงในวันที่ก้าหนด ทาให้หนอนไหมมีความแข็งแรงและเลี้ยงง่าย ได้ผลผลิตรัง
ไหมไม่น้อยกว่า 10 กิโลกรัมต่อแผ่นหรือกล่อง ซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพรังไหมในการผลิตสู่
อุตสาหกรรมในครัวเรือนหรืออุตสาหกรรมขนาดเล็กเพื่อผลิตเส้นไหมอีรี่ที่มีคุณภาพ นอกจากนี้จะได้
ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการผลิตไข่ไหมอีรี่ที่มีคุณภาพและมาตรฐานให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อม
ทั้งการเพาะเลี้ยงไหมอีรี่อย่างครบวงจรชีพจักรในระดับชุมชน (ส้านักวิจัยและพัฒนาหม่อนไหม,
2559)
103