Page 8 -
P. 8
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โครงการ การพัฒนาฐานข้อมูลห่วงโซ่อุปทานของหญ้าเนเปียร์ พืชพลังงาน-อาหารสัตว์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไทย
ส่วนประกอบทางเคมีหญ้าเนเปียร์หมัก สี กลิ่น เนื้อสัมผัส การเกิดเชื้อรา และน้ำหนักตัวปศุสัตว์ได้ดีกว่า
เกษตรกรผู้ปลูกหญ้าและผู้รวบรวมอิสระ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์จะทราบคุณภาพหญ้าเนเปียร์หมักมากที่สุด
การไหลเวียนข้อมูลเรื่องปัจจัยคุณลักษณะที่ผู้บริโภคต้องการ เช่น อายุการตัด ราคา คุณภาพการหมัก
ปริมาณการกินได้ และน้ำหนักตัวของสัตว์ มีการไหลเวียนที่สอดคล้องกันระหว่างเกษตรกรผู้ปลูกหญ้าและ
ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ข้อมูลปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาหญ้าเนเปียร์หั่นสด ฟาร์มเลี้ยงสัตว์และโรงไฟฟ้าจะมีข้อมูล
คุณลักษณะที่ส่งผลต่อราคาที่สอดคล้องกันคือ นโยบายส่งเสริม ราคาพืชอาหารสัตว์และพืชพลังงานอื่น
และปริมาณผลผลิตในตลาด ในขณะที่เกษตรกรผู้ปลูกหญ้าจะเน้นราคาสัตว์เคี้ยวเอื้องมีชีวิตมากที่สุด
รองลงมาเป็นราคาพืชอาหารสัตว์อื่นและปริมาณผลผลิตในตลาด สำหรับข้อมูลปัจจัยคุณลักษณะที่ส่งผลต่อ
ราคาหญ้าเนเปียร์หมัก ฟาร์มเลี้ยงสัตว์จะพิจารณาคุณค่าทางโภชนะของหญ้าเนเปียร์ ราคาสัตว์เคี้ยวเอื้องมี
ชีวิต ราคาพืชอาหารสัตว์อื่น ปริมาณผลผลิตในตลาด คุณภาพการหมัก ได้แก่ กลิ่น เนื้อสัมผัส รสชาติ และ
การเกิดเชื้อรา ซึ่งเกษตรกรผู้ปลูกหญ้าจะเน้นปัจจัยด้านคุณภาพการหมักมากที่สุด รองลงมาคือราคาสัตว์เคี้ยว
เอื้องมีชีวิตและราคาพืชอาหารสัตว์อื่น
การวิเคราะห์ต้นทุน กำไร และส่วนเหลื่อมตลาดตลอดห่วงโซ่คุณค่า พบว่า มีผลผลิตหญ้ารวมเฉลี่ยต่อ
ราย 41.5 ตันต่อไร่ต่อปี โดยมีจำนวนรอบการผลิตเฉลี่ย 5.88 รอบต่อปี สำหรับต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 0.42 บาท
ต่อกิโลกรัม ราคาที่เกษตรกรผู้ปลูกหญ้าขายได้ 1.63 บาทต่อกิโลกรัม และมีผลตอบแทน 1.26 บาทต่อ
กิโลกรัม โดยผลผลิตเฉลี่ยต่อรายทั้งประเทศมีปริมาณที่สูงกว่า 2.18 ตันต่อไรต่อปี อันเนื่องมาจากสภาพ
อากาศและภูมิศาสตร์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยรวมเป็นพื้นที่แห้งแล้งและมีปริมาณน้ำน้อย ทั้งนี้ ปัจจัย
ที่มีผลต่อต้นทุนในภาคตะออกเฉียงเหนือต่ำกว่าโดยรวมของประเทศ สาเหตุจากการใช้น้ำจากโรงงานแป้งมัน
สำปะหลังที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ลดต้นทุนค่าปุ๋ยเนื่องจากในน้ำโรงงาน/ฟาร์มสุกรมีส่วนประกอบของ
ยูเรีย และราคาเช่าที่ดิน/ค่าใช้ที่ดินที่ราคาไม่สูงเมื่อเทียบกับภาคอื่นในประเทศ โดยแต่ละระดับของห่วงโซ่มี
การกระจายต้นทุนและกำไรไม่เท่ากัน เมื่อพิจารณาส่วนเหลื่อมตลาดระหว่างราคาขายและราคาซื้อหญ้า
เนเปียร์สำหรับเป็นอาหารสัตว์ พบว่าระดับเกษตรกรมีส่วนเหลื่อมตลาดมากที่สุด (ร้อยละ 78) สำหรับ
ความสัมพันธ์ระหว่างเกษตรกรผู้ปลูกหญ้า ผู้รวบรวมหญ้า และฟาร์มเลี้ยงสัตว์นั้น จะอาศัยความคุ้นเคยทำ
การค้าซื้อขายกัน ความสัมพันธ์ระหว่างเกษตรกรผู้ปลูกหญ้าและสหกรณ์จะเป็นความสัมพันธ์ผ่านการเป็น
สมาชิกสหกรณ์ ที่ได้รับประโยชน์จากการรับซื้อ การได้รับองค์ความรู้ และการได้รับสินเชื่อ ในขณะที่
ความสัมพันธ์ระหว่างเกษตรกรผู้ปลูกหญ้าและโรงไฟฟ้าจะเป็นความสัมพันธ์ผ่านรูปแบบสัญญาทางการค้าที่
ได้รับประโยชน์จากการรับซื้อผลผลิตอย่างต่อเนื่อง การได้รับองค์ความรู้และความช่วยเหลือในการปลูกและ
เพิ่มผลผลิต และการรับดำเนินการเก็บเกี่ยวผลผลิต
จากผลการศึกษานำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ดังนี้
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในระยะสั้น
1. กำหนดเกณฑ์คุณภาพและมาตรฐานในการปฏิบัติทางการเกษตร จัดทำมาตรฐานการผลิตของหญ้า
เนเปียร์ สำหรับอาหารสัตว์ ประสานการเชื่อมโยงของข้อมูลและการเข้าถึงข้อมูลในแต่ละระดับของ
โซ่อุปทานให้เกิดความเข้าใจตรงกัน คอยกำกับและดูแล ตรวจสอบคุณภาพ มาตรฐาน
2. กำหนดพื้นที่การปลูก โดยแบ่ง Zone ของการส่งเสริมให้มีการผลิตหญ้า พร้อมจัดทำระบบฐานข้อมูล
เกษตรกรผู้ปลูกหญ้าเนเปียร์ให้ครอบคลุมพื้นที่แปลงปลูก โดยนำ GIS มาปรับใช้ทำแผนที่ระบบภูมิศาสตร์
สารสนเทศด้านการปลูกหญ้าเนเปียร์ มีการติดตามอย่างใกล้ชิดและปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอ
RDG6020008