Page 6 -
P. 6
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โครงการ การพัฒนาฐานข้อมูลห่วงโซ่อุปทานของหญ้าเนเปียร์ พืชพลังงาน-อาหารสัตว์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไทย
2) แบบใช้น้ำจากโรงงาน สูบราดในแปลง และปล่อยน้ำตามร่องแปลง จะอาศัยน้ำเสียที่ผ่านการบำบัด
จากโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร เช่น โรงงานแป้งมันสำปะหลัง ฟาร์มสุกร เป็นต้น ในระยะเวลา 1
เดือน หญ้าเนเปียร์จะเจริญเติบโตได้ดีและสามารถคลุมวัชพืชในแปลงได้ สามารถใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก
ปุ๋ยวิทยาศาสตร์สูตร (15-15-15) (25-7-7) และ (21-0-0) ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง
หรือจะใช้กากตะกอนจากบ่อบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร/ฟาร์มสุกร
2. กิจกรรมการแปรรูปและการบรรจุหีบห่อหญ้าเนเปียร์ตัดสด หั่นสด และหญ้าเนเปียร์หมัก จะพิจารณา
ผลผลิตว่าควรที่จะดำเนินการเองในการเก็บเกี่ยวผลผลิต การแปรรูป การบรรจุ และการส่งมอบ หรือ
ควรที่จะดำเนินการขายเหมาแปลง การแปรรูปจะมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับอายุในการตัด คุณภาพ
และปริมาณของผลผลิต หากมีอายุการตัดที่เหมาะสม ประมาณ 45-90 วัน ก็จะผลิตหญ้าหั่นสด
สำหรับเป็นอาหารสัตว์ หากมีปริมาณผลผลิตมากก็จะทำการแปรรูปเป็นหญ้าหมัก เมื่อเพิ่มอายุใน
การตัดของหญ้า (อายุ 60-90 วัน) ก็จะผลิตหญ้าหั่นสดให้โรงก๊าซชีวภาพเพื่อผลิตไฟฟ้า
3. กิจกรรมการเก็บรักษาและการเก็บสต็อกหญ้าเนเปียร์หั่นสดและหญ้าเนเปียร์หมัก จะเก็บผลผลิตไว้ใน
กระสอบในยุ้งเก็บหรือเทกองไว้หน้าลาน ซึ่งมีความเสียหายค่อนข้างสูง
4. กิจกรรมการกระจายผลผลิตหญ้าเนเปียร์ เจ้าของแปลงหญ้าติดต่อลูกค้าหรือฟาร์มเลี้ยงสัตว์
ดำเนินการสั่งซึ่งมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับอายุในการตัด คุณภาพ และปริมาณของผลผลิต สามารถ
จัดส่งเป็นเบ๊าท์หรือทำการบรรจุลงกระสอบพลาสติกสาน เกษตรกรส่วนใหญ่จะขายหญ้าให้กับพ่อค้า
สหกรณ์ หรือฟาร์มเลี้ยงสัตว์จำนวนหลายราย ทั้งลูกค้าหลักและลูกค้ารายย่อย ในขณะที่เกษตรกร
บางรายจะขายให้กับโรงไฟฟ้าเพียงรายเดียวเนื่องจากเป็นสมาชิกและมีสัญญาระหว่างกัน (Contract
Farming)
5. กิจกรรมการขนส่งผลผลิตหญ้าเนเปียร์ เกษตรกรผู้ปลูกหญ้าเนเปียร์เป็นผู้ดำเนินการขนส่งเอง โดยใช้
รถกระบะ รถบรรทุก 6 ล้อ หรือรถบรรทุก 10 ล้อ แล้วแต่ปริมาณการสั่งซื้อ ส่วนระยะทางที่ขนส่ง
โดยเฉลี่ยประมาณ 50 กิโลเมตร ลูกค้าผู้ซื้อจะเป็นคนจ่ายค่าขนส่งให้แก่ผู้ขายเป็นรายเที่ยว หรือ
บางรายคิดค่าขนส่งเป็นกระสอบโดยเพิ่มค่าใช้จ่ายในราคาหญ้า หากผู้ซื้อมารับหญ้าที่หน้าแปลงก็จะ
ขายหญ้าให้ในราคาที่ถูกลง สำหรับเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของโรงก๊าซชีวภาพนั้น หากให้ทางโรงไฟฟ้า
ดำเนินการเก็บเกี่ยวและขนส่งผลผลิตเอง เกษตรกรจะสามารถขายหญ้าได้ในราคาที่ลดลง นอกจากนี้
หากพบว่าหญ้าที่จัดส่งมีการเน่าเสีย ก็จะสามารถขอเปลี่ยนได้ในรอบการส่งถัดไป
สรุปปัญหาในแต่ละระดับของโซ่อุปทาน
ปัญหาในส่วนของต้นน้ำ เกษตรกรขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของต้นทุนและกำไรที่ชัดเจน ขาดความรู้
ในการจัดการหญ้า การขาดแคลนแรงงานภาคเกษตรและแปรรูป การใช้แรงงานที่ไม่มีคุณภาพในกระบวนการ
เก็บเกี่ยว ก่อนการเก็บเกี่ยวและหลังการเก็บเกี่ยวทำให้เกษตรกรขาดการดูแลแปลงและการเก็บเกี่ยวที่ดี
การขาดแคลนเครื่องจักรกลเกษตรในการเก็บเกี่ยวในบางสภาพภูมิอากาศ การใช้เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวที่
แตกต่างกันทำให้ได้คุณภาพของหญ้าที่แตกต่างกัน เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว เช่น การทำหญ้าหมักยังไม่
เป็นที่นิยมของเกษตรกร การขาดมาตรฐานสินค้าเกษตรในการกำหนดคุณภาพหญ้าเนเปียร์สดและหญ้า
เนเปียร์หมักที่ชัดเจน ผลผลิตกระจุกตัวในบางพื้นที่ และยังไม่มีการสร้างเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรที่เหนียวแน่น
ไม่มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างแท้จริง
ปัญหาในส่วนของกลางน้ำ การขาดมาตรฐานสินค้าเกษตรในการกำหนดคุณภาพหญ้าเนเปียร์สดและ
หญ้าเนเปียร์หมักที่ชัดเจน การขาดการพยากรณ์ความต้องการหญ้าของสมาชิกสหกรณ์หรือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์
RDG6020008