Page 3 -
P. 3
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โครงการ การพัฒนาฐานข้อมูลห่วงโซ่อุปทานของหญ้าเนเปียร์ พืชพลังงาน-อาหารสัตว์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไทย
บทสรุปผู้บริหาร
1. ชื่อโครงการ
(ภาษาไทย) : การพัฒนาฐานข้อมูลห่วงโซ่อุปทานของหญ้าเนเปียร์ พืชพลังงาน-อาหารสัตว์ ในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือไทย
(ภาษาอังกฤษ) : The Development of Supply Chain Database of Napier Grass, an Energy
Crop and a Forage Crop, in Northeast Thailand
2. ชื่อหัวหน้าโครงการ
ชื่อ-สกุล (ภาษาไทย) : นางสาวอาจารี แสงเสถียร
ชื่อ-สกุล (ภาษาอังกฤษ) : Arjaree Saengsathien
ตำแหน่งปัจจุบัน (ทางวิชาการ/ราชการ) : อาจารย์/พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา
สังกัด/หน่วยงาน: สาขาเทคโนโลยีอุตสาหการ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ที่อยู่ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เลขที่ 62/1 ถนนเกษตรสมบูรณ์ ตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
46000
โทรศัพท์ 043-811128
โทรสาร 043-813070
โทรศัพท์มือถือ 094-262-8338
E-mail: arjaree.sa@ksu.ac.th
3. ระยะเวลาการดำเนินการ 15 เดือน
4. ปัญหาที่ทำวิจัย และความสำคัญของปัญหา
หญ้าเนเปียร์ ปากช่อง 1 เป็นหญ้าลูกผสมซึ่งเกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างหญ้าเนเปียร์ยักษ์และ
หญ้าไข่มุก เป็นพืชที่มีศักยภาพสูงทั้งในแง่การให้ผลผลิตและคุณค่าทางอาหาร จึงถูกนำมาใช้เพื่อการเกษตร
สำหรับเป็นอาหารหยาบในการเลี้ยงสัตว์ และมีอัตราการผลิตก๊าซมีเทนสูงกว่าหญ้าชนิดอื่น จึงได้รับความสนใจ
มากขึ้นในฐานะพืชพลังงาน สามารถเก็บเกี่ยวได้นานถึง 6-7 ปี ปีละ 5-8 ครั้ง ให้ผลผลิตต่อไร่สูงสุดประมาณ
40-100 ตันสดต่อไร่ต่อปี สูงกว่าหญ้าชนิดอื่นเกือบ 7 เท่า
ในปี 2553 ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นครราชสีมา ได้ทดสอบและขยายพื้นที่การปลูกหญ้า
เนเปียร์ ปากช่อง 1 ให้แก่กลุ่มเกษตรกรตำบลกุดน้อย อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา โดยปลูกแทนพืชเดิมที่
ได้รับผลกระทบจากน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง และมีการขยายพื้นที่ปลูกไปยังจังหวัด
อื่นๆ จากการสนับสนุนและส่งเสริมโดยกรมปศุสัตว์
ประกอบกับนโยบายรัฐบาลตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ซึ่งสนับสนุนการผลิต
ทางการเกษตรที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ เช่น ศักยภาพของดิน แหล่งรองรับผลผลิต และปัจจัยพื้นฐาน
ทางการเกษตรที่สำคัญ เช่น ระบบชลประทาน ระบบโลจิสติกส์ เป็นต้น เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรและ
การจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ บนพื้นฐานของความสมัครใจและการมีส่วนร่วมของเกษตรกร และ
ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา พืชพลังงานที่เหมาะสมกับประเทศและให้ผลผลิตสูง และการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่ม
ปริมาณผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น ดังนั้น การปลูกหญ้าเนเปียร์ ปากช่อง 1 ซึ่งให้ผลตอบแทนต่อพื้นที่ในระดับที่
เพิ่มสูงขึ้น จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรเพื่อการนำไปใช้ในการเลี้ยงปศุสัตว์และการผลิตไฟฟ้าจาก
พลังงานทดแทน
RDG6020008