Page 4 -
P. 4
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โครงการ การพัฒนาฐานข้อมูลห่วงโซ่อุปทานของหญ้าเนเปียร์ พืชพลังงาน-อาหารสัตว์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไทย
การศึกษาเพื่อให้ได้ข้อมูลการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานสินค้าหญ้าเนเปียร์ ปากช่อง 1 จากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นเขตพื้นที่หลักของภาคเกษตรกรรม เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
อันจะเป็นกลไกสำคัญในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ห่วงโซ่คุณค่าอย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การเสริมสร้าง
ความสามารถในการแข่งขันของภาคการเกษตรของไทย
ดังนั้นจากข้อมูลข้างต้น ทำให้คณะผู้วิจัยสนใจศึกษาโซ่อุปทานหญ้าเนเปียร์จากต้นน้ำสู่ปลายน้ำใน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นเขตพื้นที่หลักของภาคเกษตรกรรม เพื่อทราบถึงกิจกรรมที่เกิดขึ้นและ
บทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในแต่ละระดับของโซ่อุปทาน อีกทั้งจะได้ทราบความเชื่อมโยงระหว่างระดับด้วย
ข้อมูลข่าวสาร ผลิตภัณฑ์ และการเงิน ว่ามีมากน้อยเพียงใด เพื่อประกอบการตัดสินใจในการทำธุรกิจของ
ผู้สนใจ และเพื่อสร้างความชัดเจนในการหาแนวทางแก้ไข พัฒนา ปรับปรุง และลดต้นทุนการผลิตหญ้าเนเปียร์
หนึ่งในสินค้าเกษตรที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน โดยมุ่งเน้นการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงมีการพัฒนา
ระบบฐานข้อมูลให้สามารถรองรับการแก้ไขปัญหาและการเสนอแนะในทางนโยบายได้ ทั้งนี้ยึดหลักการใช้
ระบบ MRCF โดยมองที่ภาพ “พื้นที่-คน-สินค้า” Mapping ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเตรียมเข้าทํางานใน
พื้นที่ศึกษา Remote Sensing เกษตรกรและบุคคลที่สนใจสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลงานวิจัยที่พัฒนาขึ้นเพื่อ
เผยแพร่ Community Participation ใช้วิธีการจัดเวทีชุมชนในการทํางาน ร่วมดําเนินการ และถ่ายทอดองค์
ความรู้กับเกษตรกร พ่อค้าและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแบบมีส่วนร่วม Specific Field Service เข้าทํางานในพื้นที่
ปลูกหญ้าเนเปียร์แบบเฉพาะเจาะจง เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ตรงจุดและยั่งยืน
5. วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาโซ่อุปทานหญ้าเนเปียร์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2. เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อมโยงในแต่ละระดับของโซ่อุปทานหญ้าเนเปียร์
3. เพื่อสร้างฐานข้อมูลในการพัฒนาหญ้าเนเปียร์ ซึ่งนำไปสู่การกำหนดนโยบายสินค้าเกษตรที่เหมาะสม
6. ระเบียบวิธีวิจัย (โดยย่อ)
ภายใต้ระยะเวลาดำเนินโครงการประมาณ 15 เดือน (ระยะที่ 1 เป็นเวลา 6 เดือน และระยะที่ 2 เป็น
เวลา 9 เดือน) โดยในระยะที่ 1 สำรวจและรวบรวมข้อมูลการเคลื่อนย้ายสินค้าจากแหล่งผู้ผลิต ไปยังลูกค้า
กลุ่มต่างๆ (เกษตรกรผู้ปลูกหญ้าเนเปียร์รายย่อย ผู้รวบรวมอิสระ สหกรณ์ ฟาร์มปศุสัตว์ โรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ
เป็นต้น) ซึ่งจะพิจารณาจากการศึกษาศักยภาพของโครงสร้างพื้นฐานและโครงข่ายการขนส่งสินค้าในปัจจุบันที่
เกี่ยวข้องกับการค้าหญ้าเนเปียร์ วิเคราะห์การจัดการห่วงโซ่อุปทาน รวมทั้งวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและ
ศักยภาพของห่วงโซ่อุปทาน โดยจะทำการศึกษาจากข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ จากการค้นคว้าเอกสาร
รายงานศึกษาที่เกี่ยวข้อง และจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ในการดำเนินงานในช่วงที่ 2 (เดือนที่ 7-15) ทำการรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อความครอบคลุมและ
นำเอาข้อมูลที่รวบรวมทั้งหมดมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เชื่อมโยงกับองค์ประกอบอื่นของห่วงโซ่อุปทานและ
โลจิสติกส์หญ้าเนเปียร์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์และการดำเนินงานในตลอดทั้ง
ห่วงโซ่อุปทาน วิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทน ส่วนเหลื่อมตลาดตลอดห่วงโซ่คุณค่า จากนั้นเสนอแนวทาง
การพัฒนาและปรับปรุงให้แก่เกษตรกร ผู้ประกอบการและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องตลอดทั้งห่วงโซ่
อุปทาน จัดทำฐานข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ จัดสัมมนาเพื่อเสนอข้อมูล องค์ความรู้ และข้อเสนอแนะเชิง
นโยบายสินค้าเกษตรแก่ผู้เกี่ยวข้องในการซื้อขายสินค้าหญ้าเนเปียร์ เพื่อรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมก่อนที่จะ
สรุปผลวิจัย
RDG6020008