Page 5 -
P. 5

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


               โครงการ การพัฒนาฐานข้อมูลห่วงโซ่อุปทานของหญ้าเนเปียร์ พืชพลังงาน-อาหารสัตว์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไทย


               7.      สิ่งที่ได้รับ
                       เกษตรกร : องค์ความรู้ด้านคุณภาพ ผลิตภาพ การจัดการการผลิต การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและ

               การตลาดหญ้า เนเปียร์เป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจ อีกทั้งสามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานด้านเครือข่าย
               เกษตรกร พ่อค้า ผู้ประกอบการ ในระดับต่างๆ
                       หน่วยงานรัฐ : ผลการศึกษา ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในระยะสั้น ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในระยะยาว
               ไปใช้ในการกำหนดแนวทางเพื่อให้การพัฒนา สนับสนุน และส่งเสริมเกษตรกรรมหญ้าเนเปียร์ระดับท้องถิ่น

               อย่างยั่งยืน, ฐานข้อมูลของโซ่อุปทานหญ้าเนเปียร์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไทยประกอบการตัดสินใจใน
               การกำหนดนโยบายของภาครัฐ ในการสร้างคุณค่าและมูลค่าของหญ้าเนเปียร์ เพื่อความสามารถในการแข่งขัน
               และการปรับตัวภายใต้บริบทของ AEC
                       ภาคเอกชน : องค์ความรู้ ไปใช้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของธุรกิจ

                       ภาคการศึกษา : ความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะในงานวิจัยอาจเป็นประโยชน์สำหรับการทำวิจัยครั้ง
               ต่อๆ ไปหรือเพื่อจะได้ต่อยอดในผลงานวิจัยนั้นต่อเนื่องจากไป สามารถนำการวิจัยนี้ไปเป็นโครงวิจัยต้นแบบ
               และขยายผลสู่ภูมิภาคอื่น การทำวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ ให้สามารถเริ่มการวิจัยและพัฒนาได้
               และดำเนินการวิจัยต่อไปได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาวอย่างมีคุณภาพ ผลจากการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไป

               ตีพิมพ์บทความในวารสารวิชาการระดับชาติหรือระดับนานาชาติอย่างน้อย 1 บทความ นอกจากนี้ผลงานวิจัย
               นี้ถูกนำเผยแพร่ในที่ประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติในรูปบรรยาย
                       ประชาชน : การประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภครับรู้ถึงทางเลือกของการสร้างรายได้และตระหนักถึง

               ประโยชน์จากการเกษตร

               8.      บทสรุป
                       การวิเคราะห์โซ่อุปทานหญ้าเนเปียร์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                       โซ่อุปทานหญ้าเนเปียร์ ประกอบด้วย เกษตรกรผู้ปลูกหญ้ารายเดี่ยวและกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหญ้า
               ระดับกลางน้ำ ได้แก่ เกษตรกรผู้รวบรวมผลผลิต ผู้รวบรวมอิสระและสหกรณ์ และระดับปลายน้ำ ได้แก่ ฟาร์ม
               ปศุสัตว์และโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ
                       การวิเคราะห์โซ่อุปทานหญ้าเนเปียร์ สามารถจำแนกกิจกรรมหลักของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ดังนี้

                   1.  กิจกรรมการจัดการแปลงหญ้า หญ้าเนเปียร์ขยายพันธุ์ด้วยลำต้นหรือท่อนพันธุ์ มีการเลือกพันธุ์
                       หญ้าเนเปียร์จากเกษตรกรรายอื่นที่ปลูกเพื่อการจำหน่าย หรือจากศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์
                       ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง ความสมบูรณ์ของท่อนพันธุ์จะมีอายุประมาณ 80-100 วัน ตัดเป็นท่อนมีข้อ
                       ติดอยู่ 2 ข้อ สำหรับการปลูกและการจัดการแปลงหญ้า เกษตรกรปลูกบนพื้นที่ของตนและพื้นที่เช่า

                       ด้วยอัตราค่าเช่าเฉลี่ย 1,200-1,500 บาทต่อไร่ต่อปี และจะอยู่ในบริเวณใกล้เคียงโรงงานอุตสาหกรรม
                       เกษตร โรงไฟฟ้า ฟาร์มปศุสัตว์ และที่ดินราชพัสดุ สำหรับการเตรียมดิน เกษตรกรผู้ปลูกหญ้าเนเปียร์
                       ครั้งที่ 1 ดำเนินการไถดะ และครั้งที่ 2 ไถพรวน 1-2 ครั้ง หรืออาจมีการไถระเบิดดินดาน มีการยกร่อง
                       ปลูก ปลูกแบบอ้อย หรือปลูกแบบวางลำต้นต่อกันในแนวนอนตามร่อง มีการใช้แรงงานคนหรือเครื่อง

                       ปลูก โดยใช้ท่อนพันธุ์ประมาณ 300 กิโลกรัมต่อไร่ และใช้ระยะปลูกระหว่างแถวประมาณ 100-120
                       เซนติเมตร ระยะระหว่างต้นหรือหลุมประมาณ 75-80 เซนติเมตร ส่วนใหญ่เริ่มปลูกหญ้าในช่วงเดือน
                       พฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม โดยส่วนใหญ่จะจ้างบุคคลภายนอก (Outsource) ที่เชี่ยวชาญและมี
                       เครื่องจักรพร้อมมาดำเนินการปลูก จึงมีการปลูกซ่อมลดลง มีการให้น้ำมากโดยเฉพาะในช่วงแรกหลัง

                       การปลูกหญ้า โดยสามารถแบ่งการให้น้ำในแปลงหญ้าออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) แบบลงทุนในระบบ
                       น้ำ เช่น ติดตั้ง ระบบสปริงเกิ้ล บิ๊กกัน ระบบน้ำหยด หรือสูบน้ำจากบ่อเพื่อมารดหญ้าในแปลง



               RDG6020008
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10