Page 10 -
P. 10

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


               โครงการ การพัฒนาฐานข้อมูลห่วงโซ่อุปทานของหญ้าเนเปียร์ พืชพลังงาน-อาหารสัตว์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไทย


                                                        บทคัดย่อ


                       หญ้าเนเปียร์ ปากช่อง 1 เป็นพืชพลังงานและพืชอาหารสัตว์ ที่ให้ผลผลิตสูง มีโปรตีนและก๊าซมีเทน
               เมื่อหมัก สืบเนื่องจากปริมาณผลผลิตอาหารสัตว์ไม่เพียงพอกับความต้องการของสัตว์ในประเทศจากการที่
               เกษตรกรหันไปปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น ความต้องการอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้นจากนโยบายการปรับเปลี่ยนพื้นที่

               ความต้องการก๊าซชีวภาพที่เพิ่มขึ้นจากนโยบายสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน การศึกษาเพื่อผูกโยง
               โซ่อุปทานหญ้าเนเปียร์จากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ ถือเป็นแนวทางหนึ่งในการสนับสนุนภาคการเกษตรให้เกษตรกร
               และผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานสามารถดำรงอาชีพได้อย่างมั่นคง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการ
               ห่วงโซ่อุปทาน และวิเคราะห์ความเชื่อมโยงในแต่ละระดับ นำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย โดยการศึกษากลุ่ม

               ตัวอย่าง นำหลักการ Pareto’s Principle (80/20) มาใช้ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้เกษตรกรผู้ปลูก
               หญ้าจำนวน 20 คน ผู้รวบรวม 3 คน สหกรณ์/ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ 3 กลุ่ม และโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ 1 แห่ง
               งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานได้ให้ข้อมูล ร่วม

               วิเคราะห์ปัญหาและเสนอแนะแนวทางการพัฒนา เพื่อตอบสนองได้ตรงตามความต้องการของทั้งห่วงโซ่อุปทาน
               ผลวิจัยพบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ปลูกหญ้าเนเปียร์เฉลี่ยต่อราย 218.15 ไร่ ผลผลิตรวมเฉลี่ยต่อราย
               41.5 ตันต่อไร่ต่อปี จำนวนรอบการผลิตเฉลี่ย 5.88 รอบต่อปี ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 0.42 บาทต่อกิโลกรัม
               ราคาที่เกษตรกรผู้ปลูกหญ้าขายได้เฉลี่ย 1.63 บาทต่อกิโลกรัม และผลตอบแทนเฉลี่ย 1.26 บาทต่อกิโลกรัม
               โดยมีห่วงโซ่อุปทานของหญ้าเนเปียร์ ซึ่งประกอบด้วย ระดับต้นน้ำ ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกหญ้ารายเดี่ยวและ

               กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหญ้า ระดับกลางน้ำ ได้แก่ เกษตรกรผู้รวบรวมผลผลิต ผู้รวบรวมอิสระและสหกรณ์ และ
               ระดับปลายน้ำ ได้แก่ ฟาร์มปศุสัตว์และโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ สำหรับกรณีผลิตหญ้าเพื่อขายให้ปศุสัตว์
               ผู้รวบรวมหญ้ามีส่วนเหลื่อมตลาดมากกว่าเกษตรกรผู้ปลูกหญ้าร้อยละ 56 ทั้งนี้ การสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งใน

               รูปแบบกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์หรือการเกษตรแบบสัญญา โดยมีการวางแผนและแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกันใน
               ทุกกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ มีการบริหาร
               จัดการเชิงรุกแบบบูรณาการระหว่างฝ่ายอุปสงค์และอุปทาน และมีหน่วยงานภาครัฐและภาคท้องถิ่นคอย
               ประสานงาน ให้ความรู้ กำกับและดูแลการดำเนินงาน จะเป็นแรงขับเคลื่อนให้หญ้าเนเปียร์ ปากช่อง 1

               สามารถแข่งขันได้กับพืชพลังงานและพืชอาหารสัตว์อื่น

                    คำสำคัญ  หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 ห่วงโซ่อุปทาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นโยบายสินค้าเกษตร





























               RDG6020008
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15