Page 52 -
P. 52

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


               โครงการ การพัฒนาฐานข้อมูลห่วงโซ่อุปทานของหญ้าเนเปียร์ พืชพลังงาน-อาหารสัตว์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไทย


                       การปลูกและการจัดการแปลงหญ้า : พื้นที่การปลูกร้อยละ 31.59 เป็นของเกษตรกรผู้ปลูกหญ้าเอง
               และในส่วนที่เหลือจะเป็นพื้นที่เช่า ด้วยอัตราค่าเช่าเฉลี่ย 1,200-1,500 บาทต่อไร่ต่อปี โดยพื้นที่ส่วนใหญ่จะ

               อยู่ในบริเวณเดียวกันกับโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร โรงไฟฟ้า ฟาร์มปศุสัตว์ และที่ดินราชพัสดุ

                       การเตรียมดิน เกษตรกรผู้ปลูกหญ้าเนเปียร์ ครั้งที่ 1 ดำเนินการไถดะ และครั้งที่ 2 ไถพรวน 1-2 ครั้ง
               หรืออาจมีการไถระเบิดดินดาน แล้วแต่สภาพดิน ในการเตรียมดินจะขึ้นอยู่กับลักษณะการปลูกของเกษตรกร
               เกษตรกรผู้ปลูกหญ้าบางรายยกร่องปลูกหรือปลูกแบบอ้อยบางรายไม่มีการยกร่อง ซึ่งการยกร่องหากเกษตรกร
               ผู้ปลูกหญ้าใช้เครื่องจักรในการเก็บเกี่ยวจะมีการกำหนดระยะระหว่างร่องเพื่อให้เครื่องจักรสามารถเข้าแปลง

               เก็บเกี่ยวโดยไม่ทำให้เกิดความเสียหายได้

                       การปลูก ร้อยละ 30 ของเกษตรกรผู้ปลูกหญ้ามีการใช้แรงงานคน โดยที่เกษตรกรร้อยละ 70 ปลูก
               ด้วยเครื่องปลูก โดยใช้ท่อนพันธุ์ประมาณ 300 กิโลกรัมต่อไร่ และใช้ระยะปลูกระหว่างแถวประมาณ 100-120
               เซนติเมตร ระยะระหว่างต้นหรือหลุมประมาณ 75-80 เซนติเมตร การปลูกในอีกรูปแบบหนึ่งคือเกษตรกรจะ

               ไม่สับท่อนพันธุ์เป็นท่อน แต่จะปลูกแบบวางลำต้นต่อกันในแนวนอนตามร่อง ใช้ดินกลบเล็กน้อยต้นหญ้าจะ
               เจริญขึ้นมาตามข้อของต้น เกษตรกรผู้ปลูกหญ้าส่วนใหญ่เริ่มปลูกหญ้าในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือน
               กรกฎาคม โดยมีระยะการเก็บเกี่ยวครั้งแรกในเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป ทั้งนี้ สำหรับการเตรียมแปลงปลูก การปลูก
               จนกระทั่งหญ้าเริ่มงอกนั้น โดยส่วนใหญ่จะเป็นการจ้างบุคคลภายนอก (Outsource) ที่เชี่ยวชาญและมี
               เครื่องจักรพร้อมมาดำเนินการ จึงมีการปลูกซ่อมลดลง


                       การให้น้ำ มีการให้น้ำมาก โดยเฉพาะในช่วงแรกหลังการปลูกหญ้า เกษตรกรผู้ปลูกหญ้าจะสังเกตจาก
               สภาพความชุ่มชื้นของดินในแปลง เมื่อแห้งก็ให้น้ำ โดยสามารถแบ่งการให้น้ำในแปลงหญ้าออกเป็น 2 ประเภท
               คือ 1) แบบลงทุนในระบบน้ำ คิดเป็นร้อยละ 45 เกษตรกรผู้ปลูกหญ้าจะมีการลงทุนในการให้น้ำ เช่น ติดตั้ง
               ระบบสปริงเกิ้ล บิ๊กกัน ระบบน้ำหยด หรือสูบน้ำจากบ่อเพื่อมารดหญ้าในแปลง 2) แบบใช้น้ำจากโรงงาน สูบราด
               ในแปลง และปล่อยน้ำตามร่องแปลง คิดเป็นร้อยละ 55 เกษตรกรผู้ปลูกหญ้าจะอาศัยน้ำเสียที่ผ่านการบำบัด

               จากโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร เช่น โรงงานแป้งมันสำปะหลัง ฟาร์มสุกร เป็นต้น เพื่อให้แปลงมีความชุ่มชื้น
               ตลอดเวลา ในระยะเวลา 1 เดือน หญ้าเนเปียร์จะเจริญเติบโตได้ดีและสามารถคลุมวัชพืชในแปลงได้

                       การใส่ปุ๋ย เกษตรกรผู้ปลูกหญ้าร้อยละ 50 จะใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักพร้อมกับการเตรียมดินเพื่อเป็น
               การรองพื้นโดยเฉลี่ยในอัตรา 2 ตันต่อไร่และใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์สูตร (15-15-15) ในอัตราเฉลี่ย 50 กิโลกรัมต่อ

               ไร่ จากนั้นใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตราโดยเฉลี่ย 15 กิโลกรัมต่อไร่ และจะใส่หลังจากตัดหญ้าทุกครั้งในอัตรา
               เดียวกัน เกษตรกรร้อยละ 40 จะใช้กากตะกอนของบ่อบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมเกษตรเติมลงใน
               แปลงปลูกประกอบการกับการสูบน้ำราดในแปลง เกษตรกรร้อยละ 5 ใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์สูตร (25-7-7) ใน
               อัตราเฉลี่ย 500 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี และปุ๋ยวิทยาศาสตร์สูตร (21-0-0) เสริมเข้าไปในระบบน้ำหยด ในขณะที่

               เกษตรกรร้อยละ 5 ใส่เฉพาะปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงในอัตราเฉลี่ย 150 กิโลกรัมต่อไร่

                       1.2 การแปรรูปและการบรรจุหีบห่อหญ้าเนเปียร์ตัดสด หั่นสด และหญ้าเนเปียร์หมัก

                       เกษตรกรผู้ปลูกหญ้าส่วนใหญ่มีผลผลิตในฤดูฝน ซึ่งหญ้าจะได้รับน้ำในปริมาณที่มากพอ และจะมี
               การเก็บเกี่ยวหญ้าที่อายุเหมาะสมตามวัตถุประสงค์การนำไปใช้ คือ อายุหญ้า 45-90 วัน สำหรับผลิตอาหาร
               สัตว์ และอายุ 60-90 วัน สำหรับผลิตไฟฟ้า โดยอาจใช้การบรรจุหีบห่อ ในการเก็บรักษาหญ้าเนเปียร์ที่ผลิต
               เสร็จ เพื่อรอการจำหน่าย โดยไม่ให้เกิดการเน่าเสีย และเพื่อความสะดวกในการขนส่ง โดยกิจกรรมที่เกิดขึ้นใน

               การแปรรูปและการบรรจุหีบห่อของผู้ปลูกหญ้า คือ




               RDG6020008                                                                               36
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57