Page 49 -
P. 49
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โครงการ การพัฒนาฐานข้อมูลห่วงโซ่อุปทานของหญ้าเนเปียร์ พืชพลังงาน-อาหารสัตว์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไทย
การเชื่อมโยงระหว่างส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานหญ้าเนเปียร์ เริ่มตั้งแต่ผู้ผลิต ไปจนถึง
ผู้บริโภค ประกอบด้วยระดับต้นน้ำ ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกหญ้ารายเดี่ยวและกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหญ้า
ระดับกลางน้ำ ได้แก่ เกษตรกรผู้รวบรวมผลผลิต ผู้รวบรวมอิสระและสหกรณ์ และระดับปลายน้ำ ได้แก่ ฟาร์ม
ปศุสัตว์และโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ สามารถสรุปรูปแบบการดำเนินงานได้ ดังนี้
1. ระดับต้นน้ำ ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกหญ้ารายเดี่ยวและกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหญ้า ทำการปลูกหญ้า
เป็นอาชีพหลัก หรือควบคู่ไปกับการเลี้ยงปศุสัตว์/การผลิตไฟฟ้า เป็นผู้ทำการผลิตหญ้าตัดสด หญ้าหั่นสด
และ/หรือแปรรูปหญ้าหมัก ทำหน้าที่ประสานงานกับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ
หรือผู้รวบรวมผลผลิต ในการวางแผนเก็บเกี่ยว แปรรูปและบรรจุ รอการจัดส่งไปยังฟาร์มปศุสัตว์ โรงไฟฟ้า
หรือหน้าร้านริมถนนต่อไป สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1.1 เกษตรกรรายเดี่ยวที่ไม่มีการรวมและการวางแผนร่วมกันในกิจกรรมการจัดการแปลงหญ้า การผลิต
และแปรรูป การเก็บรักษา การกระจายผลผลิต การขนส่ง ฯลฯ กับเกษตรกรผู้ปลูกหญ้ารายอื่นที่อยู่ในพื้นที่
ใกล้เคียงกัน เช่น อยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน อยู่ติดกับโรงงานแป้งมันสำปะหลังโรงงานเดียวกัน อยู่ติดกับฟาร์มสุกร
ฟาร์มเดียวกัน เป็นต้น เกษตรกรเหล่านี้มีการปลูกหญ้าแบบอิสระ
รูปที่ 4.3 การศึกษาภาคสนามกับเกษตรกรผู้ปลูกหญ้าเนเปียร์ ปากช่อง 1 รายเดี่ยว
1.2 เกษตรกรที่มีการรวมกลุ่มและการวางแผนร่วมกัน เช่น สมาชิกสหกรณ์ สมาชิกโรงไฟฟ้าก๊าซ
ชีวภาพ มีการรวมตัวกันภายใต้การประสานงานและความช่วยเหลือในรูปแบบการให้คำปรึกษาจากสหกรณ์
หรือโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพที่เกษตรกรผู้ปลูกหญ้าเป็นสมาชิกอยู่ ในด้านของการวางแผนการปลูก การจัดการ
แปลงหญ้า การเก็บเกี่ยว การแปรรูป การขนส่ง และการหาตลาดกระจายผลผลิต สำหรับสมาชิกสหกรณ์ และ
ในด้านของการวางแผนการปลูก การจัดการแปลงหญ้า การเก็บเกี่ยว และการขนส่ง สำหรับสมาชิกโรงไฟฟ้า
ก๊าซชีวภาพ
2. ระดับกลางน้ำ คือ ผู้รวบรวมผลผลิตทางการเกษตร เป็นผู้ประสานงานระหว่างเกษตรกรผู้ปลูก
หญ้าและเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ โดยจะทำหน้าที่ตั้งแต่รับซื้อหญ้าจากเกษตรกรผู้ปลูกหญ้ารายเดี่ยว หั่น บรรจุ
และขนส่งไปยังฟาร์มปศุสัตว์ และอาจทำการแปรรูปเป็นหญ้าหมัก หรืออินทรีย์วัตถุ เพื่อเพิ่มมูลค่าและยืดอายุ
ของสินค้า ผลิตภัณฑ์ สามารแบ่งผู้รวบรวมออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
2.1 ผู้รวบรวมที่เป็นเกษตรกร เกษตรกรผู้ปลูกหญ้ารายเดี่ยวที่มีพื้นที่ปลูกขนาดประมาณ 40 ไร่ขึ้นไป
ส่วนใหญ่จะทำหน้าที่เป็นผู้รวบรวมผลผลิตจากเกษตรกรรายเดี่ยวอื่นๆ ในพื้นที่ใกล้เคียงด้วย โดยทำ
การประสานงานกับฟาร์มปศุสัตว์ในเรื่องของชนิดสินค้า ผลิตภัณฑ์ ปริมาณและเวลาในการจัดส่ง รับซื้อโดย
ชำระเงินทันทีหลังเก็บเกี่ยวเสร็จ สำหรับการขนส่งหญ้าไปยังฟาร์มปศุสัตว์ ผู้รวบรวมจะทำการเก็บเกี่ยว
RDG6020008 33