Page 46 -
P. 46

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


               โครงการ การพัฒนาฐานข้อมูลห่วงโซ่อุปทานของหญ้าเนเปียร์ พืชพลังงาน-อาหารสัตว์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไทย
































                                           รูปที่ 3.11 ข้อมูลโครงการก่อสร้างทางรถไฟ

                                               ที่มา : การรถไฟแห่งประเทศไทย

                       จากข้อมูลทำให้ทราบถึงเส้นทางที่จะดำเนินการก่อสร้างของประเทศไทยไปในทิศทางใด เมื่อทราบถึง
               การก่อสร้างในเส้นทางต่างๆ จะมีส่วนช่วยในการทำการตลาดและวางแผนกระจายสินค้าได้มากยิ่งขึ้น

               3.5 สรุปท้ายบท
                       หญ้าเนเปียร์ ปากช่อง 1 เป็นหญ้าอาหารหยาบสามารถใช้เลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้อง ได้แก่ โคนม โคเนื้อ

               กระบือ แพะ แกะ และสัตว์กระเพาะเดียว ได้แก่ สุกร สัตว์ปีก และช้าง ได้ทั้งในรูปหญ้าตัดสด หญ้าหั่นสด
               หญ้าหมัก และการนำไปผสมกับวัตถุดิบอาหารสัตว์อื่นๆ ผลิตเป็นอาหารผสมเสร็จ (TMR) ในปี 2560

               ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 65,776 ไร่ มีผลผลิตทั้งหมด 986,640 กิโลกรัม โดยมีสัดส่วน
               การใช้เลี้ยงโคเนื้อ ร้อยละ 80 โคนม ร้อยละ 10 แพะ แกะ ร้อยละ 5 กระบือ ร้อยละ 5

                       ในปี 2560 มีโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ จำนวน 46 โรงงาน กระจายอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
               เพื่อผลิตไฟฟ้าไว้ใช้เองและเพื่อขาย โดยมี 3 บริษัทที่ใช้หญ้าเนเปียร์เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ได้แก่
               บริษัท พี แอนด์ ปภพ รีนิวเอเบิล จำกัด บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด และบริษัท พลาสม่า เพียวริตี้ พาวเวอร์

               จำกัด คิดเป็นร้อยละ 6.5 ของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ
                       การผลิต เก็บเกี่ยวสินค้า ผลิตภัณฑ์หญ้าเนเปียร์ยังไม่เป็นมาตรฐานและไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
               ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้น เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ความปลอดภัย และเหมาะสมต่อการบริโภค จึงควรมี
               มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหารสัตว์ (หญ้าเนเปียร์) ในห่วงโซ่อุปทาน

                       เส้นทางการขนส่งหญ้าเนเปียร์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นั้นประกอบด้วยจังหวัดนครราชสีมา
               จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดขอนแก่น จังหวัด
               มหาสารคาม จังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดสกลนคร มีลักษณะการขนส่งที่แตกต่างกัน สาเหตุจากต้นทุน

               การขนส่งมีค่าใช้จ่ายที่สูง ดังนั้น การขนส่งหญ้าจะขึ้นอยู่กับปัจจัย เช่น ระยะทางระหว่างแหล่งเพาะปลูกกับ
               ฟาร์มที่ต้องการหญ้า ภูมิประเทศของแหล่งเพาะปลูก พาหนะที่ใช้ในการขนส่ง เป็นต้น








               RDG6020008                                                                               30
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51