Page 21 -
P. 21

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                         9


               ที่จะไดรับการผสมโดยวิธีการผสมเทียมหรือผสมแบบธรรมชาติ การเปนสัดของโคแตละรอบจะหางกัน
               ประมาณ 21 วัน และในแตละครั้งของการเปนสัดแลวประมาณ 14 ชั่วโมง ชวงระยะเวลาที่เหมาะสมที่สุด

               สําหรับทําการผสม คือ ระยะกอนที่ไขจะตกเล็กนอย แนวทางปฏิบัติคือ ถาเห็นเปนสัดตอนเชาก็ควรจะผสม
               อยางชาตอนบายวันเดียวกัน ถาโคเปนสัดตอนบายหรือเย็นควรผสมอยางชาวันรุงขึ้น โคที่ไดรับการผสมแลว
               ประมาณ 21 วัน หากโคไมกลับมาแสดงอาการเปนสัดอีกก็อาจคาดไดวาผสมติดหรือโคตัวนั้นตั้งทองแลว หรือ
               หลังจากผสมแลว 50 วัน ใหสัตวแพทยหรือผูที่มีความชํานาญในการตรวจทองโค ตรวจให หรือสังเกตจากการ

               กินจุขึ้นของแมโค และความจุของลําตัวโดยเฉพาะสวนทองซี่โครงจะกางออกกวางขึ้น ขนเปนมันและไมเปนสัด
               อีก


               2.1.9 การคลอดลูก
                       แมโคจะตั้งทองประมาณ 283 วัน หรือประมาณ 9 เดือนเศษ ในชวงนี้แมโคควรจะไดรับการเอาใจใส
               ดูแลเรื่องความเปนอยูและอาหารเปนพิเศษ เพราะลูกในทองเจริญขึ้นเรื่อยๆ และเปนไปอยางรวดเร็ว ในระยะ
               กอนคลอดประมาณ 45-80 วัน ควรเพิ่มอาหารผสมใหแกแมโคทอง สําหรับแมโคที่กําลังใหนมเมื่อตั้งทองลูก

               ตัวตอไป ควรจะหยุดรีดนมกอนคลอดประมาณ 45-60 วัน เพื่อใหแมโคไดมีเวลาเตรียมตัวไดพักผอนรางกาย
               และอวัยวะตางๆ ไมเชนนั้นอาจจะทําใหแมโคชะงักการเจริญเติบโตทิ้งชวงการเปนสัดนาน ผสมติดยาก



               2.1.10 อาหารและการใหอาหาร
                       โคนมเปนสัตวสี่กระเพาะหรือเรียกวาสัตวเคี้ยวเอื้อง อาหารที่ใชเลี้ยงมี 2 ชนิด คือ อาหารหยาบ และ
               อาหารขน อาหารหยาบ เชน ถั่ว อาหารสัตว หญาฟางขาว อาหารขน เชน อาหารผสม การใหอาหารแกโคนม
               จะตองมีความสัมพันธกันเพื่อที่จะทําใหโคนมสามารถใหน้ํานมไดสูงสุด ตามความตองการของโคแตละตัว

               เพราะอาหารเปนตัวกําหนดปริมาณน้ํานมและผลตอบแทนจากการเลี้ยงโคนม การใหอาหารแกโคนมอยาง
               เหมาะสมจะชวยใหแมโคนมสามารถผลิตน้ํานมไดสูงขึ้นและยังสามารถลดตนทุนการผลิตไดอีกดวย

                       2.1.10.1 ความตองการสารอาหารของแมโคนม แมโคนมแตละตัวมีความตองการสารอาหารในแตละ
               ชวงแตกตางกันไป ขึ้นอยูกับ

                       1) ชวงระยะการใหน้ํานม คือ แมโคที่อยูในระยะใกลคลอดหรือหลังคลอดใหมๆ จะมีความตองการ
               สารอาหารในแตละระยะที่แตกตางกัน คือระยะใหนมสูงสุด (2 เดือนแรกของการใหนม) การใหนมชวงกลาง
               การใหนมชวงปลายและชวงหยุดการใหนม
                       2) สภาพรางกาย โคนมที่สามารถใหน้ํานมไดเต็มที่จะตองไมควรอวนหรือผอมจนเกินไป

                       2.1.10.2 ปริมาณการกินอาหารของแมโค แมโคกินอาหารไดอยางจํากัด ตามความจุของกระเพาะโค
               เอง ปริมาณการกินอาหารของโคจะมีความสัมพันธกับปจจัยหลัก 2 ปจจัย คือ น้ําหนักตัวของแมโค และ
               ปริมาณน้ํานมที่แมโคนั้นผลิตได

                       ตัวอยางเชน แมโคนมมีน้ําหนักประมาณ 400 กิโลกรัม สามารถใหนมวันละ 18 กิโลกรัม แมโคจะกิน
               อาหารไดวันละเทาใด เมื่อดูจากตารางจะเห็นวาโคนมกินอาหารไดประมาณ 2.9 % ของน้ําหนักตัว = (2.9 x
               400) / 100 =11.6 กิโลกรัม
                       ปริมาณการกินอาหารหยาบ โคนมเปนสัตวเคี้ยวเอื้องจําเปนตองไดรับอาหารหยาบอยางเพียงพอ
               อาหารหยาบมีเยื่อใยสูงจะชวยทําใหตอมน้ําลายของโคหลั่งน้ําลายไดมากขึ้น น้ําลายนี้จะมีฤทธิ์เปนดางชวย

               ปรับสภาพภายในกระเพาะผาขี้ริ้วใหเหมาะสมแกการทํางานของจุลินทรีย เพื่อสังเคราะหโปรตีน และพลังงาน
               แกโคตอไป ระดับของอาหารหยาบเมื่อคิดเปนน้ําหนักแหง ควรจะไดรับตอวันไมควรต่ํากวา 1.4% ของน้ําหนัก
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26