Page 17 -
P. 17

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                         5


                                                         บทที่ 2

                                    การทบทวนเอกสารและวรรณกรรมที่เกี่ยวของ


                       ในบทนี้ จะเปนรายละเอียดการทบทวนแนวคิด เอกสารทางวิชาการ วารสาร งานตีพิมพ ตลอดจน
               งานวิจัยที่เกี่ยวของกับการเพิ่มผลิตภาพสีเขียว การจัดการหวงโซอุปทานอยางยั่งยืนในสหกรณโคนมและการ

               วิเคราะหสายธารแหงคุณคา โดยมีหัวขอดังตอไปนี้
                       2.1 การเลี้ยงโคนม
                       2.2 สถานการณของฟารมโคนม
                       2.3 การจัดการสิ่งแวดลอมของฟารมโคนม
                       2.4 ผลิตภัณฑนมในประเทศไทย

                       2.5 ปญหาสิ่งแวดลอมจากการแปรรูปผลิตภัณฑนม
                       2.6 การวิเคราะหสายธารแหงคุณคา (Value Stream Analysis)
                       2.7 ผลิตภาพสีเขียว (Green productivity)

                       2.8 เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology)
                       2.9 งานวิจัยที่เกี่ยวของ

               2.1 การเลี้ยงโคนม

               2.1.1 ประวัติการเลี้ยงโคนม (ขวัญชาย, 2548)
                       ประเทศไทยมีประวัติการเลี้ยงโคนมเริ่มตนในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พบวามีชาวอินเดียและ
               ชาวปากีสถานที่อาศัยในเขตรอบ ๆ พระนครไดมีการเลี้ยงโคนมเพื่อรีดนมไวบริโภคและขายภายในชุมชนซึ่งโค

               นมในสมัยนั้นจะเปนโคนมสายเลือดอินเดีย
                       พ.ศ. 2505 พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว และสมเด็จพระนางเจาพระบรมราชินีนาถ พรอมดวยพระ
               เจาเฟรดเดอริกที่ 9 และพระราชินีแหงประเทศเดนมารค เสด็จเปนองคประธานรวมในพิธีเปดฟารมโคนม
               ไทย-เดนมารค ในวันที่ 16 มกราคม 2505

                       พ.ศ. 2537 รัฐบาลโดยกรมปศุสัตว กระทรวงเกษตรและสหกรณ ในป 2537-2539 ไดเริ่มกิจกรรม
               สงเสริมการเลี้ยงโคนมภายใตโครงการปรับโครงสรางและระบบการผลิตการเกษตร (คปร.) เพื่อใหโอกาสแก
               เกษตรกรที่ประสบปญหาผลผลิตและราคาขาวหรือมันสําปะหลังตกต่ํา เปลี่ยนอาชีพและนําพื้นที่มาปลูกหญา
               เลี้ยงโคแทน โดยรัฐบาลสนับสนุนเรื่องการฝกอบรมการเลี้ยงโคนมและปจจัยการผลิต คิดเปนมูลคารายละ

               ประมาณ 30,000 บาท และสนับสนุนเงินกูดอกเบี้ยต่ํารอยละ 5 ตอป ผานทาง ธนาคารเพื่อการเกษตรและ
               สหกรณ (ธกส.) รายละประมาณ 210,000 ถึง 220,000 บาท เพื่อซื้อพันธุโคนม อุปกรณ และการกอสรางคอก
               โรงรีดนม โดยมีเปาหมายใหมีเกษตรกรเขารวมโครงการปละ 2,000 ราย มีแมโคนมเพิ่มปละ 10,000 ตัว (รวม
               เปน 30,000 ตัว) และในกรอบเวลาเดียวกัน (ปพ.ศ. 2537-2539) กรมปศุสัตวไดมอบหมายใหหนวยงานที่

               เกี่ยวของดําเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพและปริมาณการผลิตนม โดยมีเปาหมาย คือ เพิ่มประสิทธิภาพการ
               ผลิตน้ํานมของแมโคนมโดยเฉลี่ยจาก 7.4 กก./ตัว/วัน เปน 11.2 กก./ตัว/วัน เพิ่มปริมาณการผลิตน้ํานมดิบ
               ภายในประเทศใหไดประมาณ 475,000 ตัน/ป ในป พ.ศ. 2540

                       พ.ศ. 2540 เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจที่รุนแรงในประเทศ ทําใหเกิดการบริโภคน้ํานมลดลง (กําลังซื้อ
               ของผูบริโภคลดลง) และเกิดเหตุการณที่รัฐบาลไมสามารถควบคุมการจัดการโครงการนมโรงเรียนได ทําให
               น้ํานมดิบที่ผลิตโดยเกษตรกรผูเลี้ยงโคนมภายในประเทศไมสามารถจําหนายไดทั้ง ๆ ที่กําลังการผลิต
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22