Page 44 -
P. 44
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
4.1 อำหำรโคเนื้อ
สำรอำหำรที่จ�ำเป็นส�ำหรับโคแบ่งออเป็น 6 หมู่ ได้แก่
1. น�้า ช่วยย่อยอาหาร ล�าเลียงอาหาร ขับถ่าย เป็นส่วนประกอบที่ส�าคัญในร่างกายสัตว์ ประมาณ 70%
2. โปรตีน ช่วยในการเจริญเติบโต ช่วยสร้างกล้ามเนื้อ อวัยวะภายใน ผิวหนัง ขน กีบ เขา
3. คาร์โบไฮเดรต (แป้งและน�้าตาล) ให้พลังงานส�าหรับการท�างานของร่างกาย การเจริญเติบโต และ
การสืบพันธุ์
4. ไขมัน ให้พลังงาน เป็นแหล่งพลังงานส�ารอง
5. แร่ธาตุ สร้างน�้าย่อย สร้างกระดูก เป็นตัวน�าออกซิเจนในเลือด
6. วิตามิน ช่วยให้ระบบต่างๆ ของร่างกาย เช่น ระบบสืบพันธุ์ท�างานตามปกติ ช่วยป้องกันโรค ส่งเสริม
การเจริญเติบโต และการสืบพันธุ์
สิ่งที่ร่างกายต้องการในปริมาณมากคือ โปรตีน และแป้ง วัตถุดิบอาหารสัตว์แต่ละชนิดจะมีส่วนประกอบ
ของอาหารทั้ง 6 หมู่ในสัดส่วนที่ต่างกัน เช่น โปรตีน มีมากใน ปลาป่น กากถั่วเหลือง กากเมล็ดนุ่น กากเมล็ดฝ้าย
กากมะพร้าว ใบกระถิน เป็นต้น
แป้งหรือน�้าตาล มีมากใน ปลายข้าว ร�าข้าว เมล็ดข้าวโพด เมล็ดข้าวฟ่าง มันเส้นส�าปะหลัง กากน�้าตาล
เป็นต้น
วิตามินและแร่ธาตุ สัตว์ต้องการเพียงเล็กน้อย และมักจะมีเพียงพอในวัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทโปรตีน
และแป้งอยู่แล้ว ยกเว้นแร่ธาตุบางชนิดที่สัตว์ต้องการค่อนข้างมาก คือ แคลเซียม ฟอสฟอรัส โซเดียม และคลอรีน
จึงจ�าเป็นต้องเสริมให้แก่สัตว์
เมื่อเอาวัตถุดิบอาหารสัตว์ต่างๆข้างต้นมาผสมกันเรียกว่า อาหารข้น ซึ่งเป็นอาหารที่ให้เสริม
เพื่อให้โคให้ผลผลิตตามที่ต้องการ แต่อย่าลืมว่า อาหารหลักของโคคือ อาหารหยาบ ประเภทหญ้า หรืออาหาร
เยื่อใยสูง ถ้าโคได้กินอาหารหยาบคุณภาพดีอย่างเต็มที่จะสามารถด�ารงชีวิตและให้ผลผลิตตามที่ต้องการได้
ยกเว้นกรณีของการเลี้ยงโคขุน ที่ต้องให้อาหารข้นเสริมในปริมาณมากเพื่อเร่งการเจริญเติบโต หรือแม่โคเลี้ยงลูก
ดูดนมที่ต้องการอาหารมากกว่าปกติ
ข้อควรจ�ำ
1. ก่อนอื่นต้องท�าความเข้าใจก่อนว่า ขณะที่คุณให้อาหารโค คุณก�าลังให้อาหารจุลินทรีย์ใน
กระเพาะหมัก (ผ้าขี้ริ้ว) ด้วย คือ ต้องให้อาหารให้เพียงพอกับความต้องการของจุลินทรีย์และของสัตว์ด้วย
สัตว์กระเพาะรวม (เคี้ยวเอื้อง) แตกต่างจากสัตว์กระเพาะเดี่ยว เพราะมีจุลินทรีย์ที่มีส่วนส�าคัญช่วยให้ระบบต่างๆ
ในกระเพาะด�าเนินไปด้วยดี
2. สารอาหารที่โคได้รับจะมาจาก 2 ส่วนหลักๆ คือ จากอาหารที่กิน และจากตัวจุลินทรีย์เมื่อมันตาย
และถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย
3. การหมักย่อยในกระเพาะรูเมน เป็นขบวนการที่จุลินทรีย์น�าเอาธาตุอาหารบางอย่างจากอาหาร
ที่โคกินเข้าไปมาสร้างเซลล์ของตัวจุลินทรีย์เอง ในขณะเดียวกันก็เกิดผลพลอยได้คือ กรดไขมัน ได้แก่
กรดอาซิติก กรดโปรพิโอนิค และกรดบิวทิริค ซึ่งสัตว์สามารถดูดซึมผ่านผนังกระเพาะไปใช้ประโยชน์ได้
42 คู่มือปฏิบัติ การผลิตโคเนื้อเชิงการค้า ส�าหรับเกษตรกร
Commercial Beef Cattle Production Handbook Farmer Edition