Page 49 -
P. 49

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                     วัตถุดิบอาหารข้น                                 คุณสมบัติ

                กากเบียร์                 เป็นส่วนเหลือจากขั้นตอนแรกของการท�าเบียร์ จากการบ่มข้าวบาร์เลย์หรือข้าวมอลท์
                                          ที่สเปรย์น�้าให้เมล็ดงอก จากนั้นจะผ่านขบวนการต้มคั้นน�้าแป้งและน�้าตาลออกเพื่อไป
                                          ท�าเบียร์ ส่วนที่เหลือคือกากมอลท์หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กากเบียร์สด ลักษณะเป็น

                                          กากอ่อนนุ่ม ซึ่งในสภาพสดจะมีความชื้นประมาณ 65% โปรตีน 8.5% ไขมัน 1.5%
                                          เยื่อใย 2.8% และคาร์โบไฮเดรต 11.5% กากเบียร์สดจะเก็บไว้ใช้ได้ไม่นานเหลือ
                                          มักบูดเน่ามีเชื้อราได้ง่าย เมื่อน�าไประเหยน�้าออกจะได้กากเบียร์แห้งซึ่งมีโปรตีน
                                          ประมาณ 20% ใช้เป็นอาหารสัตว์ได้

                                          การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจ�ากัด
                                          ●  การเบียร์มีความฟ่ามสูง เยื่อใยสูง ไม่ควรให้สัตว์กินในปริมาณมากๆ เพราะ
                                             กากของข้าวมอลท์ จะไปขยายตัวในกระเพาะก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบการย่อย
                                          ข้อแนะน�าการใช้

                                          ●  สัตว์กระเพาะรวม เช่น โคเนื้อ โคนม สามารถใช้กากเบียร์สด เลี้ยงได้ประมาณ
                                             วันละ 8–10 กก./ตัว และควรให้กินหมดวันต่อวัน ส่วนกากเบียร์แห้ง สามารถ
                                             ให้ในปริมาณ 2 กก./ตัว/วัน หรือผสมในสูตรอาหารข้น ระดับที่ใช้ผสม 15–20%
                                             ในสูตรอาหาร

                กากวุ้นเส้นหรือ           เป็นเศษเหลือที่เป็นผลพลอยได้จากการท�าวุ้นเส้น โดยแยกส่วนแป้งหรือเนื้อเมล็ด
                โปรตีนถั่วเขียว           ถั่วเขียวออกไปท�าวุ้นเส้น ส่วนที่เหลือจะเป็นพวกสารละลายโปรตีน เศษแป้งบางส่วน
                                          รวมทั้งเนื้อและเศษแป้งติดเปลือก หลังจากนั้นน�าสารละลายไปตกตะกอน ซึ่งมีวิธีท�า
                                          2 แบบ คือตกตะกอนด้วยการหมักผ่านน�้าร้อน และตกตะกอนด้วยกรด

                                          ●  กากวุ้นเส้นชนิดที่มีส่วนเปลือกมาก มีเยื่อใยสูงไม่เหมาะจะน�าไปใช้เลี้ยงสุกรเล็ก
                                             แต่ในสัตว์กระเพาะรวมสามารถใช้ได้
                                          ข้อแนะน�าการใช้
                                          ●  โปรตีนถั่วเขียวเข้มข้น ที่มีโปรตีนสูง 68–72 % มีสัดส่วนกรดอมิโนใกล้เคียงกับ

                                             กากถั่วเหลือง จึงใช้ทดแทนกากถั่วเหลืองได้สูงถึง 75%
                                          ●  ในสัตว์กระเพาะรวม สามารถใช้กากถั่วเขียว (ชนิดที่มีโปรตีน 18–21%) ได้สูงถึง
                                             20% ในสูตรอาหารข้น โดยอาจใช้ร่วมกับยูเรีย หรือร่วมกับใบกระถิน เพื่อเป็น
                                             การลดต้นทุนค่าอาหาร

                ใบกระถินแห้ง              ใบกระถินป่นมีโปรตีนประมาณ 15–25% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าใบกระถินนั้นจะมีก้าน
                                          หรือกิ่งปนมามากน้อยเพียงใด ใบกระถินแห้งล้วนๆจะมีโปรตีนประมาณ 25% และ
                                          มีเยื่อใยต�่า
                                             ในใบกระถินมีสารพิษที่เรียกว่าไมโมซีน และมีสารเบต้า–แคโรทีน ซึ่งเป็นแหล่ง
                                          ของวิตามินเอ และสารแซนโทฟิลล์ ซึ่งเป็นสารให้สีส�าหรับไข่แดงและเนื้อสัตว์
                                             การลดสารพิษในใบสดท�าได้โดยตากแห้ง หรือสับและแช่ใบสดในน�้านาน

                                          24 ชั่วโมง แล้วผึ่งให้แห้ง
                                             ใบกระถินป่นสามารถใช้ในสูตรอาหารสุกรหรือสัตว์ปีกได้ไม่เกิน 4 % และในโค
                                          โดยส่วนใหญ่แล้วใช้ 10–15% หรือไม่เกิน 30% ในสูตรอาหารข้น





                                                                             คู่มือปฏิบัติ การผลิตโคเนื้อเชิงการค้า ส�าหรับเกษตรกร  47
                                                                       Commercial Beef Cattle Production Handbook Farmer Edition
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54