Page 9 -
P. 9

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                                                                                                         9





                    และใช้แรงงานมากกว่าการทําการเกษตรเคมี โมเดลที่ประสบความสําเร็จในบางพื้นที่อาจจะไม่


                    เหมาะสมกับบางพื้นที่หรือในบางจังหวะเวลา ดังนั้นปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของเกษตรกร

                    จําเป็นต้องนํามาพิจาณาในการดําเนินนโยบายรวมถึงการปรับเปลี่ยนทัศนคติที่เป็นอุปสรรคต่อการทํา

                    เกษตรยั่งยืนโดยการชี้ให้เห็นถึงผลประโยชน์ในระยะยาวควบคู่กับการสนับสนุนเชิงนโยบายอื่นๆ


                         การลดใช้สารเคมีเป็นประเด็นที่มีความสําคัญต่อการพิจารณาเข้าร่วมโครงการ PES ของ

                    เกษตรกรไม่ว่าจะวิเคราะห์ด้วยแบบจําลองใดและพบว่าเกษตรกรไม่นิยมการลดใช้สารเคมีในปริมาณ

                    มาก ซึ่งหมายความว่าหากดําเนินโครงการPESโดยมีนโยบายในการลดใช้สารเคมีในปริมาณมาก
                    จํานวนเงินชดเชยจะต้องสูงพอที่จะจูงใจเกษตรกรรายย่อย นั่นหมายถึงเกษตรกรมีความพึงพอใจใน

                    นโยบายที่มีความยืดหยุ่นสูงซึ่งคล้ายกับงานของ Ruto et al. (2009) ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากเกษตรกรมี

                    ทัศนคติว่าหากลดปริมาณสารเคมีทางการเกษตรจะเป็นการลดจํานวนผลผลิตต่อไร่ และอาจจะหมายถึง
                    ว่าเกษตรกรจําเป็นต้องใช้แรงงานในการทําการเกษตรมากขึ้นในการกําจัดวัชพืช หรือการไถพรวน

                    (plowing) เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน



                         รายได้ทั้งในภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตร รายจ่ายครัวเรือน จํานวนสมาชิกครัวเรือน
                    แรงงานภาคการเกษตร และประสบการณ์ในการทําการเกษตรมีอิทธิพลต่อความนิยมต่อคุณลักษณะ

                    ของโครงการ PES  โดยครัวเรือนเกษตรกรขนาดใหญ่มีแรงงานสําหรับการทําการเกษตรมากและมี

                    รายได้นอกภาคการเกษตรสูงนั้นนิยมการปลูกพืชในลักษณะไร่นาสวนผสม ในขณะที่ครัวเรือนที่มี
                    รายจ่ายครัวเรือนสูงกลับนิยมปลูกพืชที่ทนแล้งมากกว่า


                         ครัวเรือนเกษตรกรที่มีประสบการณ์สูงในการทําการเกษตรมีมีแนวโน้มที่จะเต็มใจร่วมโครงการ

                    PES แม้จะได้รับค่าชดเชยน้อยก็ตาม ซึ่งผลการศึกษานี้ก็ไม่ได้เกินความคาดหมายสามารถทําความ

                    เข้าใจได้ว่าเกษตรกรที่ทําการเกษตรมานานย่อมประจักษ์กับตนเองถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
                    เกษตรกรส่วนใหญ่ทราบดีว่าตนเองมีสารเคมีปนเปื้ อนในกระแสเลือดและเริ่มตระหนักถึงสุขภาพ

                    เพิ่มขึ้น ดังนั้นการดําเนินนโยบาย PES ในช่วงแรกควรมุ่งเป้าไปยังครัวเรือนเกษตรกรที่มีประสบการณ์

                    ในการทําการเกษตรสูงเนื่องจากน่าจะมีแนวโน้มประสบความเร็จด้วยต้นทุนที่ตํ่ากว่า


                         ผลการศึกษาสามารถจัดกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรออกเป็น 4 กลุ่มที่มีคุณลักษณะของเกษตรกรและ

                    ลักษณะไร่นาที่แตกต่างกัน และในแต่ละกลุ่มก็มีความพึงพอใจต่อคุณลักษณะของการทําเกษตรยั่งยืนที่

                    แตกต่างกัน จะเห็นได้ว่าคุณลักษณะที่เกษตรกรทุกกลุ่มพิจารณาให้ความสําคัญต่อการตัดสินใจ
                    พิจารณาเข้าร่วมโครงการคือปริมาณการลดใช้สารเคมี โดยเกษตรกรส่วนใหญ่เต็มใจที่จะลดปริมาณ
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14