Page 6 -
P. 6

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                                                                                                         6





                    นํามาประเมินระดับที่เหมาะสมในการปรับเปลี่ยนกิจกรรมทางการเกษตร และวิเคราะห์ร่วมกับลักษณะ


                    ของไร่นา ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อค้นหาความแตกต่างของเกษตรกรในการตัดสินใจ

                    เกี่ยวกับการทําการเกษตร สําหรับการวิเคราะห์แนวโน้มว่าพื้นที่ใดน่าจะประสบความสําเร็จในการ

                    ดําเนินนโยบายยกระดับความมั่นคงทางอาหาร โดยการวิเคราะห์และจําแนกการประเมินความเต็มใจรับ

                    ในรูปแบบเชิงพื้นที่ (spatial patterns) ร่วมกับข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information

                    System : GIS)  เพื่อที่จะเสนอแนะว่าพื้นที่ใดมีความเหมาะสม หรือมีศักยภาพ มีแนวโน้มว่าการดําเนิน

                    นโยบายน่าจะประสบความสําเร็จได้มากกว่าด้วยต้นทุนที่ตํ่าที่สุด



                         โดยข้อมูลที่ใช้ในแบบจําลองมาจากแบบสอบถามที่ถามหัวหน้าครัวเรือนถึงการเลือกทางเลือก

                    ต่างๆของเกษตรกร จํานวน 532 ครัวเรือน จาก 7 ตําบล 14 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่บ้านแป้นโป่งชัย

                    หมู่บ้านสาสบหก หมู่บ้านสาแพะ หมู่บ้านทุ่งทอง บ้านใหม่ผ้าขาว หมู่บ้านป่าแดด หมู่บ้านเด่นหนอง

                    นาว หมู่บ้านไฮ หมู่บ้านแม่ตาใน หมู่บ้านกิ่ว และบ้านปางตุ้ม หมู่บ้านแจ้คอน และทุ่งฮ้าง หมู่บ้านไผ่

                    งาม โดยเลือกหมู่บ้านจากทั้ง 7 ตําบลของอําเภอแจ้ห่มที่มีความหลายหลายทางภูมิศาสตร์ ลักษณะการ

                    ทําการเกษตร และพื้นที่ชลประทาน โดยตําบลที่มีพื้นที่ทางการเกษตรอยู่ในเขตชลประทานคือ ตําบล

                    ปงดอน ตําบลแจ้ห่ม ตําบลบ้านสา และบางส่วนของตําบลวิเชตรนคร สําหรับตําบลที่เหลือต้องอาศัยนํ้า

                    จากธรรมชาติ การทําการเกษตรส่วนมากยังเป็นการเกษตรที่ใช้สารเคมีและมีการทําการเกษตรแบบ

                    พันธสัญญา บางส่วนที่เริ่มตระหนักถึงการทําเกษตรยั่งยืน/เกษตรอินทรีย์ อาทิ ตําบลบ้านสา หมู่บ้านสา


                    สบหก และแป้นโป่งชัย และตําบลแจ้ห่ม หมู่บ้านป่าแดด


                         เกษตรกรที่ตอบแบบสอบถามเป็นหัวหน้าครัวเรือนหรือผู้นําในการตัดสินใจและดําเนินกิจกรรม

                    ทางการเกษตร ดังนั้นค่าเฉลี่ยอายุของผู้ตอบแบบสอบถามค่อนข้างสูงคือ  55 ปี โดยกลุ่มตัวอย่างเกือบ

                    ครึ่งมีอายุอยู่ระหว่าง 50-60 ปี สําเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาและเป็นผู้หญิง สมาชิกของครัวเรือน


                    เกษตรกรรายย่อยมีประมาณ 3-4 คนต่อครัวเรือน รายได้หลักของครัวเรือนมาจากภาคการเกษตรแต่

                    เนื่องจากรายได้จากการเกษตรไม่เพียงพอในการบริโภคทั้งปีครอบครัวเกษตรกรรายย่อยส่วนใหญ่จึง

                    ประกอบอาชีพเสริมนอกเหนือไปจากการเกษตรไม่ว่าจะมาจากลูกหลาน รับจ้าง รับราชการและเงินราย

                    เดือนของผู้สูงอายุมีเพียงร้อยละ 34 ของครัวเรือนทั้งหมดที่อาศัยรายได้จากภาคการเกษตรเพียงอย่าง

                    เดียว เกษตรกรมีประสบการณ์ในการทําการเกษตรโดยเฉลี่ย 30 ปี แต่ละครัวเรือนมีพื้นที่ทางการเกษตร
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11