Page 5 -
P. 5
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
5
บทสรุปผู้บริหาร
การเกษตรมีความสําคัญต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรมของประเทศไทยไม่ว่าจะ
เป็นในอดีตหรือปัจจุบัน โดยเฉพาะต่อประชากรในระดับรากหญ้าซึ่งเป็นบุคลากรกลุ่มใหญ่ของ
ประเทศ ปัจจุบันพบปัญหาอันเนื่องมาจากการทําเกษตรกระแสหลักอยู่มากมาย อาทิ การปนเปื้อน
สารเคมีในนํ้า ดินเสื่อม สุขภาพของเกษตรกร ดังนั้นการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนมีความสําคัญต่อ
การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและการพัฒนาประเทศ นโยบายการเกษตรและการปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมการทํากิจกรรมทางการเกษตรจึงเป็นปัจจัยในการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนในอนาคตได้ ดังนั้น
งานวิจัยเรื่องนี้จึงมุ่งศึกษาการยกระดับความยั่งยืนทางการเกษตรของเกษตรรายย่อย อ.แจ้ห่ม จ.ลําปาง
ซึ่งเป็นการศึกษาความเป็นไปได้ของกรอบนโยบายเกษตรยั่งยืนโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษา
ความนิยม (preferences) ของเกษตรกรรายย่อยต่อคุณลักษณะของกิจกรรมเกษตรที่ส่งเสริมให้เกิดความ
ยั่งยืนในกิจกรรมการเกษตร 2) เพื่อประเมินความเต็มใจรับของเกษตรกร (willingness to accept: WTA)
ในรูปตัวเงินเพื่อที่จะปรับเปลี่ยนกิจกรรมการเกษตรไปสู่เกษตรยั่งยืน รวมทั้งประเมินระดับที่เหมาะสม
ในการปรับเปลี่ยนสําหรับเกษตรกรรายย่อยในภาคเหนือ 3) เพื่อประเมินศักยภาพที่แตกต่างกันในการ
พัฒนากิจกรรมการใช้ที่ดิน (land use measure) รวมทั้งกิจกรรมทางการเกษตร โดยศึกษาว่าความ
แตกต่างนี้สัมพันธ์กับลักษณะเฉพาะของไร่นา หรือลักษณะเกษตรกรหรือไม่ 4) เพื่อที่จําแนกพื้นที่ที่มี
ศักยภาพสูงที่จะประสบความสําเร็จในการนํานโยบายการเกษตรยั่งยืนไปใช้ โดยการวิเคราะห์และ
จําแนกรูปแบบเชิงพื้นที่ (spatial patterns) ของการประเมินความเต็มใจรับ
โดยในการศึกษาความนิยมของเกษตรกรรายย่อยต่อคุณลักษณะกิจกรรมเกษตรที่ส่งเสริมให้เกิด
ความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อระบบนิเวศโดยใช้แนวคิดการทดลองทางเลือก (choice experiments) ซึ่ง
ประกอบด้วยสองโมเดลที่ใช้คือ Conditional logit model และ Latent Class model ผลการศึกษานี้จะ
ช่วยจําแนกปัจจัยหรือคุณลักษณะที่สามารถสร้างแรงจูงใจให้กับเกษตรกรในการปรับเปลี่ยนวิถีการ
ผลิตทางการเกษตร นอกจากนั้นผลการวิเคราะห์จากโมเดลสามารถนํามาคํานวณ WTA ของเกษตรกร
ในการที่จะปรับเปลี่ยนกิจกรรมการเกษตรที่ส่งเสริมความยั่งยืน ซึ่ง WTA ของเกษตรกรนั้นสามารถ