Page 7 -
P. 7
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
7
เฉลี่ยที่ 7 ไร่ และมีแรงงานเกษตรเฉลี่ยที่ 2 คนต่อครัวเรือน ส่วนมากเกษตรได้รับการอบรมจากภาค
ส่วนต่างๆ อาทิ การใช้สารเคมีการเกษตร เกษตรอินทรีย์ เศรษฐกิจพอเพียง เกษตรปลอดสาร การทําปุ๋ ย
หมัก การปลูกพืชสวนครัว การปลูกพืชเศรษฐกิจ ที่น่าสนใจคือเสียงสะท้อนกระบวนการอบรมโดย
ภาครัฐบางโครงการที่ไม่มีความต่อเนื่องและไม่สามารถต่อยอดนําไปปฏิบัติได้จริง ทําให้มีหลาย
โครงการอบรมที่เข้ามาให้ความรู้กับเกษตรกรในพื้นที่ รวมทั้งโครงการที่เชิญเกษตรกรไปอบรมนอก
พื้นที่ แต่ส่วนมากไม่สามารถที่นํามาปฏิบัติได้จริงเนื่องจากบริบทแต่ละพื้นที่แตกต่างกันรวมถึงไม่มี
การติดตามผลการดําเนินงาน
ปัจจัยที่สําคัญที่สุดสามอันดับแรกในการตัดสินใจเลือกประเภทของพืชที่ปลูกของเกษตรกรคือ
ราคาตลาดของพืชผลชนิดนั้น (ร้อยละ 51.2) การปลูกพืชตามเพื่อนบ้านที่ประสบความสําเร็จ (ร้อยละ
17.9) และปริมาณนํ้าที่สามารถใช้ได้ในรอบปีนั้นๆ (ร้อยละ 12.7) เรียงตามลําดับ สําหรับการจัดการนํ้า
ในไร่นานั้น การขุดบ่อนํ้าของตนเองเพื่อกักเก็บนํ้าในฤดูฝนหรือจากนํ้าบาดาล (ร้อยละ 38.2) เป็น
วิธีการจัดการนํ้าที่เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าเหมาะสมมากที่สุดในการจัดการนํ้าในไร่นา
ของตนเอง แต่ทว่าการขุดบ่อนํ้าเพื่อนํานํ้าบาดาลมาใช้นั้นยังมีข้อจํากัดของลักษณะพื้นที่ รองลงมาคือ
การทําร่องชลประทานหรือการยกร่องให้สูงขึ้น (ร้อยละ 26.9) ซึ่งการทําร่องชลประทานนี้ไม่นิยมทํา
บนพื้นที่สูงชันในเขตนี้ นอกจากนั้นการปลูกพืชที่ใช้นํ้าน้อย (ร้อยละ 18.5) ก็เป็นที่นิยม จะเห็นได้ว่า
วิธีการจัดการนํ้าในไร่นาที่นิยมของเกษตรกรนั้นจะเป็นวิธีการที่ง่าย ลงทุนไม่มากนักและสามารถ
จัดการเบ็ดเสร็จในครั้งเดียว ไม่ต้องใช้แรงงานในการจัดการดูแล ซ่อมบํารุงมากนักซึ่งสอดคล้องกับการ
จัดการแรงงานในการทําการเกษตรที่มีน้อยในแต่ละครัวเรือน
เกษตรกรกว่าครึ่งของกลุ่มตัวอย่างยังทําการเกษตรเคมีในการผลิตเพื่อจําหน่ายและบริโภคใน
ครัวเรือน (ร้อยละ 53) แม้ว่าจะมีการทําเกษตรปลอดสารเพื่อบริโภคในครัวเรือนอยู่บ้าง (ร้อยละ 28) มี
เพียงร้อยละ 19 เท่านั้นที่เริ่มหันมาสนใจแนวทางการทําการเกษตรแบบยั่งยืนอย่างจริงจัง โดยเกษตรกร
ให้เหตุผลว่าการทําเกษตรยั่งยืน /เกษตรอินทรีย์ต้องใช้แรงงานและความอดทน อุตสาหะมากกว่าเกษตร
เคมี (ร้อยละ 53.5) และทําให้รายได้ทางการเกษตรลดลง (ร้อยละ 14.4) รวมทั้งการขาดช่องทาง
การตลาดเพื่อจัดจําหน่าย (ร้อยละ 7.4) ไม่มีนายหน้ามารับซื้อที่แปลง (ร้อยละ 5.4) และมีความยุ่งยาก
ในการรับรองผลิตภัณฑ์เรียงตามลําดับ (ร้อยละ 4.5)