Page 8 -
P. 8

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                                                                                                         8





                         แม้ว่าจะมีเกษตรกรเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ริเริ่มการทําเกษตรยั่งยืนบ้างแล้ว แต่จากผลการสํารวจ


                    กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่ยังไม่ได้เริ่มต้นในการทําการเกษตรยั่งยืนพบว่าครัวเรือนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 90)

                    มีความสนใจในการทําการเกษตรยั่งยืนและเกษตรกรส่วนใหญ่มีความเข้าใจกับการเกษตรยั่งยืนขั้น

                    ระดับพื้นฐานเป็นอย่างดีแต่ยังมีข้อจํากัดและต้องการการสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆในการ

                    ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเกษตรเพื่อการพัฒนาไปสู่การเกษตรอย่างยั่งยืนโดยสามอันดับที่เกษตรกร

                    ต้องการความช่วยเหลือมากที่สุดในการเริ่มทําเกษตรยั่งยืนคือการหาตลาดรับซื้อผลผลิต (ร้อยละ 34.2)

                    รองลงมาคือเงินช่วยเหลือในช่วงแรกของการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทําเกษตรเคมีมาเป็นเกษตรยั่งยืน

                    (ร้อยละ 24.4)ซึ่งความต้องการการสนับสนุนทางการเงินนี้สอดคล้องกับลักษณะการดําเนินการของ

                    โครงการจ่ายค่าชดเชยสําหรับการบริการของระบบนิเวศ (Payment for Ecosystem Services: PES) นั่น

                    หมายความว่าหากมีนโยบายเกษตรในลักษณะนี้จะได้รับการตอบรับจากเกษตรกรรายย่อยเป็นอย่างดี


                    หากจะนํานโยบายการจ่ายเงินชดเชยเพื่อรักษาระบบนิเวศมาใช้ในประเทศไทยสามารถดําเนินการได้

                    หากมีงบประมาณสนับสนุนในจํานวนมากพอที่จะสร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

                    การเกษตร นอกจากแรงจูงใจทางการเงินแล้วในการดําเนินการตามนโยบายการเกษตรยังอาจจะต้อง

                    พิจารณาครัวเรือนที่มีกรรมสิทธิการถือครองที่ดินอย่างสมบูรณ์ในการบริหารจัดการที่ดิน โดยงาน

                    Ostrom (2008) ได้ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางบวกของกรรมสิทธิ์ในที่ดินกับการอนุรักษ์ทรัพยากร


                          ในการดําเนินนโยบายที่ส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนทางการเกษตรนั้นหากจะดําเนินการให้เกิด


                    ประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้นต้องพิจารณาทั้งห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) นอกจากการผลิตที่

                    ยั่งยืนแล้วต้องสามารถกระจายสินค้าและพัฒนาตลาดสินค้าเพื่อรองรับผลผลิตจากเกษตรยั่งยืนด้วย จาก

                    ผลการสํารวจจะเห็นได้ว่าเรื่องที่สําคัญที่สุดที่เกษตรกรรายย่อยต้องการการสนับสนุนไม่ใช่เรื่องเงินแต่

                    เป็นเรื่องการตลาด สําหรับโซ่การผลิตหากต้องการจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิตต้องมิใช่แค่การ

                    อบรมให้ความรู้ที่ตื้นเขินแต่ควรจะเป็นองค์ความรู้ในเชิงลึกและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี

                    สมัยใหม่ และควรเป็นการดําเนินการแบบองค์รวมในเชิงสหวิทยาการมิใช่แต่ละหน่วยงานต่างคนต่าง

                    คิดและต่างทําโดยการขาดการบูรณาการอย่างที่ทํามาในอดีต อีกทั้งจะต้องพิจารณาถึงบริบทของพื้นที่

                    และลักษณะเฉพาะของครัวเรือน ชุมชน อาทิ จํานวนแรงงานในภาคการเกษตรหรือทัศนคติต่อการทํา

                    การเกษตร เกษตรกรส่วนมากเห็นว่าการทําการเกษตรยั่งยืนต้องใช้ความอุตสาหะมีความยากลําบาก
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13