Page 4 -
P. 4
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
4
บทคัดย่อ
นโยบายทางการเกษตรที่อยู่บนพื้นฐานของการสร้างแรงจูงใจและการมีส่วนร่วมของเกษตรกรมี
บทบาทสําคัญต่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน ดังนั้นการยกระดับความยั่งยืนทางการเกษตรควรที่จะต้อง
ศึกษาถึงความนิยมของเกษตรกรและความเหมาะสมเชิงพื้นที่ งานวิจัยนี้ใช้แบบจําลองทางเลือก (Choice
Experiments) ในการวิเคราะห์ความแตกต่างของความนิยมที่เกษตรกรรายย่อยมีต่อนโยบายการเกษตร
รวมถึงวิเคราะห์ถึงศักยภาพและต้นทุนในการนํานโยบายต่างๆไปดําเนินการในเชิงพื้นที่ โดยใช้แบบจําลอง
กลุ่มแฝง (Latent class model)วิเคราะห์ร่วมกับคุณลักษณะของเกษตรกรและไร่น่าในการจําแนกกลุ่ม
เกษตรกรและอธิบายคุณลักษณะของเกษตรกรในแต่ละกลุ่ม รวมทั้งศึกษาความเต็มใจรับ (Willingness to
accept) ค่าชดเชยเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเกษตรที่เป็ นมิตรต่อระบบนิเวศ โดยใช้ข้อมูลจาก
แบบสอบถามจํานวน 532 ชุดจากเกษตรกรอําเภอแจ้ห่ม จังหวัดลําปาง ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรสมัครใจ
และยินดีที่จะเข้าร่วมโครงการเกษตรยั่งยืนหรือโครงการจ่ายเงินชดเชยเพื่อระบบนิเวศบริการ (payment for
ecosystem services:PES)โดยการปรับวิถีการทําการเกษตรโดยการปลูกพืชหลากหลายชนิดและลดใช้
สารเคมีในปริมาณและระยเวลาที่สัญญาระบุไว้ ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรต้องการเงินชดเชยที่สูงขึ้นตาม
ปริมาณการลดใช้สารเคมีโดยเฉพาะในกรณีที่สัญญาระยะยาว เกษตรกรนิยมการปลูกพืชที่ใช้นํ้าน้อย โดย
สามารถจําแนกเกษตรกรออกเป็น 4 กลุ่มตามความนิยมที่แตกต่างกันและคุณลักษณะของเกษตรกรและไร่
นา เมื่อวิเคราะห์ในเชิงพื้นที่แล้วพบว่าพื้นที่ตอนบนของอําเภอแจ้ห่มเป็นพื้นที่มีต้นทุนสูงสุดในการดําเนิน
นโยบายเกษตรยั่งยืน
คําสําคัญ เกษตรยั่งยืน (Sustainable agriculture), แบบจําลองทางเลือก (Choice experimrnts), ความ
เต็มใจรับ (WTA), นโยบายเกษตรสิ่งแวดล้อม (Agri-environmental schemes), ความนิยมที่ต่างกัน
(heterogenous preferences). การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ (Spatial analysis)