Page 10 -
P. 10

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                                                                                                        10





                    การใช้สารเคมีหากโครงการให้เงินชดเชยที่เพียงพอ มีเกษตรกรส่วนน้อย(กลุ่มที่ 4) เพียงร้อยละ 5  ที่ไม่

                    สนใจในการร่วมโครงการแม้ว่าจะรับเงินชดเชยก็ตามส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากเกษตรกรกลุ่มนี้มีรายได้

                    จากการเกษตรในระดับที่สูงอยู่แล้ว โดยภาพรวมแล้วพบว่าหากโครงการ PES มีนโยบายให้เกษตรกร
                    ลดการใช้สารเคมีในระดับที่มากต้นทุนในการชดเชยก็จะยิ่งสูงตามไปด้วย นอกจากนั้นดูเหมือนว่าการ

                    ปรับเปลี่ยนมาปลูดพืชที่ใช้นํ้าน้อยจะมีต้นทุนในการดําเนินนโยบายตํ่ากว่าการปรับเปลี่ยนมาทําไร่นา

                    สวนผสม


                         ระยะเวลาสัญญาในการให้เงินชดเชยเป็นคุณลักษณะที่ไม่มีนัยสําคัญในการตัดสินใจเข้าร่วม

                    โครงการ PES สําหรับเกษตรส่วนใหญ่ มีเพียงเกษตรกรกลุ่มเดียวคือกลุ่มที่ 2 ประมาณร้อยละ 12 ที่ให้

                    ความสําคัญกับระยะเวลาของสัญญาและพึงใจกับสัญญาระยะสั้น ซึ่งการนิยมสัญญาในระยะสั้นซึ่ง
                    คล้ายกับงานวิจัยการเกษตรในยุโรปที่เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างก็พึงพอใจกับระยะเวลาของสัญญาที่สั้น

                    (Christensen et al., 2011, Zandersen et al., 2016) นั่นหมายความว่าเกษตรกรกลุ่มนี้ต้องการความ

                    ยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนทางการเกษตรสูงและอาจจะยังไม่มั่นใจกับการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทํา
                    การเกษตร และเกษตรกรยังไม่เห็นตัวอย่างที่ประสบความสําเร็จจากโครงการในลักษณะนี้สําหรับ

                    ประเทศไทยดังนั้นเกษตรกรจึงอาจจะไม่แน่ใจ เกษตรกรกลุ่มนี้มาจากครัวเรือนที่มีรายได้ทาง

                    การเกษตรสูงกว่าโดยเปรียบเทียบและเป็นกลุ่มที่เป็นผู้นําของชุมชน องค์กรทั้งแบบที่เป็นทางการและ
                    ไม่เป็นทางการแต่ก็มีงานวิจัยหลายชิ้นที่กลุ่มตัวอย่างนิยมสัญญาในระยะยาว (Beharry-Borg et al.,

                    2013, Kanchanaroek et al., 2013) โดยหากมองถึงความยั่งยืนของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมแล้วการ

                    นิยมสัญญาระยะยาวน่าจะเป็นประโยชน์มากกว่า


                         การวิเคราะห์ค่าความเต็มใจรับร่วมกับการกระจายเชิงพื้นที่ ลักษณะไร่นาของเกษตรกรแล้ว

                    พบว่าพื้นที่ตอนบนของอําเภอแจ้ห่มซึ่งเป็นพื้นที่สูงหรือพื้นที่ที่มีความสําคัญในฐานะที่เป็นพื้นที่ต้นนํ้า
                    และใกล้กับพื้นที่ป่าไม้มากกนั้นมีต้นทุนในการดําเนินการโครงการ PES สูงกว่าพื้นที่ตอนกลางหรือ

                    พื้นที่ตอนล่างซึ่งเกษตรกรที่ทําการเกษตรในพื้นที่เหล่านี้มีความเต็มใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

                    ทางการเกษตรเพื่อนําไปสู่เกษตรยั่งยืนด้วยเงินชดเชยที่น้อยกว่าเกษตรกรที่มีที่ทํากินตอนบน โดย

                    เกษตรกรบางรายเต็มใจที่จะปรับเปลี่ยนโดยไม่ได้คํานึงถึงจํานวนเงินที่ชดเชย ดังนั้นหากจะเริ่มต้น
                    ดําเนินโครงการเพื่อเป็นแบบอย่างต่อไปการเลือกพื้นที่ตอนล่างในการดําเนินการเป็นพื้นที่ต้นแบบก็มี

                    ความเป็นไปได้ในการประสบความสําเร็จสูงด้วยต้นทุนที่ตํ่ากว่า แต่ทว่าการบูรณาการองค์ความรู้และ

                    ทํางานร่วมกันระหว่างหน่วยงานในระดับต่างๆในการช่วยเหลือในเรื่องการตลาด ตลาดรับซื้อและการ
                    พัฒนาองค์ความรู้ในระดับสูงต่อไปยังคงมีความจําเป็นและจําเป็นต้องทําควบคู่กับโครงการเพื่อให้เกิด

                    ประสิทธิภาพสูงสุด
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15