Page 33 -
P. 33

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                     3-2





               ในสมัยรัชกาลที่ 7 (พ.ศ. 2468-2477) มีการเปลี่ยนชื่อกรมทดน้ํา เปนกรมชลประทาน เมื่อ พ.ศ. 2470 ไดมีการ
               ขยายโครงการชลประทานออกไปในภาคตางๆ นโยบายน้ําในสมัยรัชกาลนี้เปนเพื่อการเกษตร อุปโภคบริโภค
               และการคมนาคม

               3.3 นโยบายน้ําไทยภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศ พ.ศ. 2475

                      ในชวงภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 ถึง พ.ศ. 2504 กอนมีแผนพัฒนาการ
               เศรษฐกิจแหงชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504-2509) นั้นมีรัฐบาลเขามาบริหารประเทศ รวม 28 คณะ คือคณะที่ 1
               ถึงคณะที่ 28 มีนโยบายที่เนนเพื่อการเกษตรโดยเฉพาะการขยายโครงการชลประทานโดยมีการสรางเขื่อนทด

               น้ําเจาพระยาและคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ 2495 ไดมีการสรางการประปาที่จังหวัด
               ลพบุรีและขยายไปยังจังหวัดอื่นๆ อีกหลายจังหวัด การเปลี่ยนแปลงของนโยบายน้ําในชวงนี้มีนอยมาก
               มีเพียงแตเพิ่มเติมขอบเขตของการปฏิบัติงานมากขึ้น


               3.4. นโยบายน้ําในชวงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ฉบับที่ 1-11 (พ.ศ. 2504-2559)
                      เมื่อเริ่มตนแผนพัฒนาการเศรษฐกิจฉบับที่ 1 จนถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติฉบับที่  11

               ในป พ.ศ. 2559 เปนเวลา 55 ป มีรัฐบาลเขามาบริหารประเทศรวม 33 คณะ จึงมีพลวัตนโยบายน้ําเกิดขึ้น
               ตามนโยบายของรัฐบาลแตละคณะ โดยมีนโยบายน้ําที่กําหนดขึ้นจาก 3  แหลง คือ (1)  จากแผนพัฒนา
               เศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ (2) คําแถลงนโยบายของรัฐบาลตอรัฐสภา และ (3) มติคณะรัฐมนตรี ซึ่งจะ
               นํามาวิเคราะหถึงความสอดคลอง ความตอเนื่องและความแตกตาง โดยจะวิเคราะหรวม 3 เรื่อง คือ (1) การ
               วิเคราะหเปรียบเทียบนโยบายน้ําในภาพรวม (2)  การวิเคราะหเปรียบเทียบนโยบายเฉพาะเรื่องที่

               คณะรัฐมนตรีมีมติและดําเนินการ และ (3) กรณีตัวอยางของความไมตอเนื่องของนโยบายน้ําไทย ดังตอไปนี้

                      3.4.1 การวิเคราะหเปรียบเทียบนโยบายน้ําในภาพรวม
                              ในชวงแผนพัฒนาการเศรษฐกิจแหงชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504-2509) อยูในชวงการบริหาร

               ของรัฐบาล 2 คณะ คือ คณะที่ 29 ซึ่งมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต เปนนายกรัฐมนตรี และรัฐบาลคณะที่ 30 ซึ่ง
               มีจอมพลถนอม กิตติขจร เปนนายกรัฐมนตรี
                              สถานภาพของทรัพยากรน้ําที่ระบุไวในแผนพัฒนาฯ ฉบับนี้ คือการใชน้ําและที่ดินในทองที่

               ที่มีการชลประทานยังไดผลไมเต็มที่เพราะการกอสรางบางโครงการยังไมเสร็จสมบูรณ ดวยเหตุดังกลาวนี้ใน
               แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 จึงไดเนนการกอสรางโครงการชลประทาน  เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตดานการเกษตร
               และเรงรัดการกอสรางเขื่อนภูมิพลใหแลวเสร็จ และมีนโยบายการเก็บคาน้ําชลประทานจากเกษตรกรเมื่อ
               โครงการชลประทานไดผลบริบูรณ ในสวนนโยบายของรัฐบาลที่แถลงตอรัฐสภานั้นไดเนนการพัฒนาดานการ
               ชลประทานเชนเดียวกัน ซึ่งคณะรัฐมนตรีไดมีนโยบายและดําเนินการโดยการจัดหาโครงสรางพื้นฐานดาน

               แหลงน้ําโดยการกอสรางแหลงน้ําขนาดใหญและขนาดกลาง จัดหาน้ําอุปโภคบริโภค ทั้งในชนบทและพระ
               นครและธนบุรี มีการกูเงินจากธนาคารโลกเพื่อพัฒนาการเกษตรและการชลประทานในพื้นที่ภาคกลาง
               รวมทั้งมีการเสนอใหเก็บคาน้ําชลประทานมีการกอสรางเขื่อนขนาดใหญ (ความจุ 100 ลาน ลบ.ม ขึ้นไป)

               ดังนี้ (1) เขื่อนภูมิพล (2) เขื่อนสิริกิติ์ (3) เขื่อนบางพระ (4) เขื่อนลําปาว (5) เขื่อนอุบลรัตน (6) เขื่อนน้ําพุง
               (7) อางเก็บน้ําลําตะคอง (8) เขื่อนกิ่วลม (9) อางเก็บน้ํากระเสียว (10) อางเก็บน้ําลําพระเพลิง มีการกูเงิน
               จากธนาคารโลกสําหรับโครงการแกงกระจาน และมีการเปดเขื่อนภูมิพลในป 2507 จึงสรุปไดวา “มีความ
               สอดคลองและเชื่อมโยงระหวางนโยบายทั้ง 3 แหลง โดยเฉพาะการกอสรางอางเก็บน้ําขนาดใหญ เพื่อการ

               ชลประทาน ยกเวนการเก็บคาน้ําชลประทานที่ยังมิไดดําเนินการ”
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38